Page 135 - kpiebook64011
P. 135

สมุทรปราการก้าวหน้าไม่ต้องการให้หมายเลขผู้สมัครหมายเลข 1-3 ตกไปเป็นของคู่แข่ง โดยเฉพาะผู้สมัคร
               จากคณะก้าวหน้า เพราะอาจจะน าหมายเลข 3 ไปผนวกกับสัญลักษณ์ 3 นิ้ว ซึ่งเป็นสัญญะที่ส าคัญในการ

               เคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับประเทศ และสร้างการรณรงค์หาเสียงให้เกิดความแตกแยกในพื้นที่
               (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564)


                       กลุ่มรวมพลังสมุทรปราการ ก่อตั้งโดยนายอ านวย รัศมิทัต ผู้เป็นแกนน ากลุ่ม โดยกลุ่มจัดตั้งขึ้นเพื่อ
               การเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ปี 2563 วัตถุประสงค์ที่จัดตั้งกลุ่ม
               ขึ้นมาก็เพื่อที่จะรวบรวมผู้คนที่มีความคิดทางการเมืองที่ตรงกัน และต้องการเปลี่ยนแปลงขั้วอ านาจทาง
               การเมืองในระดับท้องถิ่น (อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 12

               เมษายน 2564) จากการส ารวจข้อมูลการหาเสียงของผู้สมัครที่ประกาศอย่างเป็นทางการว่าสังกัดอยู่ในกลุ่ม
               รวมพลังสมุทรปราการพบว่า มีผู้สมัครในนามกลุ่มรวมพลังสมุทรปราการในเขตอ าเภอเมืองสมุทรปราการเพียง
               5 เขตเท่านั้น ในพื้นที่อ าเภออื่น ๆ พบว่า ผู้สมัครของกลุ่มลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่อ าเภอบางพลี และอ าเภอ
               พระประแดง ซึ่งเป็นฐานเสียงส าคัญของนายอ านวย


                       กลุ่มในระดับอ าเภอ ในพื้นที่อ าเภอบางพลี และอ าเภอพระสมุทรเจดีย์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก
               สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้จัดตั้งกลุ่มย่อยในระดับอ าเภอขึ้น และใช้ชื่อกลุ่มที่สะท้อนให้เห็นนัยเชิงพื้นที่

               โดยผู้สมัคร 2 รายในอ าเภอบางพลีใช้ชื่อกลุ่มว่า “บางพลีรุ่งเรือง” เพื่อรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ส าหรับใน
               อ าเภอพระสมุทรเจดีย์มีผู้สมัคร 3 รายที่จัดตั้งกลุ่มในนาม “รวมพลังพระสมุทรเจดีย์” เพื่อใช้ส าหรับการหา
               เสียงเลือกตั้ง ความน่าสนใจอยู่ที่อ าเภอพระสมุทรเจดีย์ ด้วยเหตุว่าผู้สมัครทั้ง 3 รายในนามกลุ่มพระสมุทร
               เจดีย์สามารถชนะการเลือกตั้งและได้ด ารงต าแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยสามารถเอาชนะ

               ตัวแทนของกลุ่มการเมืองที่มีเครือข่ายครอบคลุมในระดับจังหวัดอย่างกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าได้ ข้อมูลจาก
               การสัมภาษณ์ช่วยตอบข้อสงสัยนี้ว่า กลุ่มรวมพลังพระสมุทรเจดีย์ก่อตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของ
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่อ าเภอพระสมุทรเจดีย์ ที่มีความใกล้ชิดกับแกนน าคนส าคัญของพรรคพลัง

               ประชารัฐ การสนับสนุนทางการเงินและการจัดตั้งคะแนนเสียงจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและอิทธิพลของ
               พรรคแกนน ารัฐบาล จึงน าไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งของกลุ่ม (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5
               เมษายน 2564)


                         4.1.1.4 กลุ่มผู้สมัครอิสระ


                       ผู้รับสมัครเลือกตั้งในนามอิสระกระจายอยู่ในหลายเขตเลือกตั้ง โดยส่วนใหญ่แล้วเขตพื้นที่อ าเภอเมือง
               สมุทรปราการเป็นพื้นที่ที่มีผู้สมัครในนามอิสระเป็นจ านวนมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ในอ าเภออื่น ๆ
               แม้ว่าผู้สมัครจะสื่อสารภาพลักษณ์ในการหาเสียงว่าไม่สังกัดกลุ่มการเมืองในพื้นที่กลุ่มใด แต่จากประวัติและ
               ภูมิหลังของผู้สมัครจ านวนมากสะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงกับการเมืองในระดับท้องถิ่น เครือข่ายภาคธุรกิจ

               และฝ่ายปกครองในพื้นที่ อาทิ มีความเชื่อมโยงทางเครือญาติกับผู้บริหารเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วน
               จังหวัด มีความเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจในจังหวัดผ่านสมาคมโรตารี่ หรือมีประสบการณ์ในต าแหน่งก านัน
               ผู้ใหญ่บ้านมาก่อน อย่างไรก็ตามสิ่งที่ย้ าก็คือ แม้จะมีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายอ านาจอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้
               ประกาศตัวหรือลงสมัครเป็นกลุ่ม


                       จากลักษณะของกลุ่มการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการสามารถสะท้อนให้
               เห็นได้ว่า การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นไม่สามารถประเมินอย่างง่าย ๆ ได้เพียงว่า การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   117
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140