Page 137 - kpiebook64011
P. 137
ค าอธิบายกลุ่มแรกที่มองว่า บรรยากาศทางการเมืองระดับชาติที่มีผลต่อการเลือกตั้งเกี่ยวข้องกับ
ความพร้อมของฝ่ายผู้ครองอ านาจในระดับประเทศที่จะเปิดให้มีการเลือกตั้ง ทั้งความพร้อมในแง่ของการ
เตรียมคนของฝ่ายตนมาลงสมัครรับเลือกตั้ง และในแง่ของการควบคุมคะแนนเสียงและผลการเลือกตั้งให้
เป็นไปตามทิศทางที่ฝ่ายครองอ านาจต้องการ โดยเฉพาะเป็นการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ผู้
ชนะสามารถแปลงเครือข่ายการเลือกตั้งของตนเองซึ่งครอบคลุมทั้งจังหวัดมารองรับการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อีกชั้นหนึ่ง (ประธานชมรมศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในพื้นที่, สัมภาษณ์,
วันที่ 9 เมษายน 2564)
อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่มองต่างออกไปจากกลุ่มแรก โดยมีความเห็นว่าบรรยากาศทางการเมืองไม่มีผลต่อ
การเลือกตั้งท้องถิ่น กลุ่มผู้ที่มีความคิดเห็นในแนวทางนี้มีเหตุผลอยู่ในสามประเด็นหลัก ประเด็นแรก เมื่อ
พิจารณาในเชิงตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งในต าแหน่งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะ
พบว่า ผู้สมัครเป็นนักการเมืองคนละสนามแข่งขันกล่าวคือ ไม่มีผู้สมัครคนใดเคยด ารงต าแหน่งทางการเมืองใน
ระดับชาติมาก่อน และลงมาแข่งขันในเวทีการเมืองระดับท้องถิ่น ประเด็นที่สอง การเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้
ประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่สามารถขยายและส่งต่อการเคลื่อนไหวลงมายังพื้นที่
ได้ เมื่อการเคลื่อนไหวในกรุงเทพมหานครไม่สามารถเกิดคู่ขนานในระดับพื้นที่ อิทธิพลและแรงผลักดันจากการ
เคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับชาติจึงยังไม่มีผลต่อการตัดสินใจของคนในพื้นที่มากนัก ดังจะเห็นจากผล
คะแนนของผู้สมัครคณะก้าวหน้าที่มักรณรงค์หาเสียงโดยใช้ประเด็นที่เชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ในระดับชาติ ซึ่งได้รับคะแนนไม่สูงมากนัก (คณะกรรมการหมู่บ้านท่านหนึ่งในเขตอ าเภอบางพลี, สัมภาษณ์,
วันที่ 18 เมษายน 2564) และประเด็นสุดท้าย เมื่อพิจารณาขอบเขตอ านาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วน
จังหวัดแล้วจะพบว่า การด าเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมืองใน
ระดับชาติ แต่มักจะเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลหรือองค์การ
บริหารส่วนต าบล การบริหารงานร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือการจัดสรรงบประมาณของ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่ออุดหนุนกิจกรรมและโครงการขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง เป็น
กรอบการด าเนินงานที่วางบทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้อยู่ในพื้นที่มากกว่าเชื่อมโยงกับการเมืองใน
ระดับชาติ (คณะกรรมการหมู่บ้านท่านหนึ่งในเขตอ าเภอบางพลี, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564)
การเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการที่ถูกตีกรอบให้เป็น
กิจกรรมทางการเมืองในระดับพื้นที่มากกว่าจะเชื่อมโยงไปกับบรรยากาศทางการเมืองระดับชาติอาจวิเคราะห์
ได้ในสองประเด็นกล่าวคือ ประเด็นแรก องค์การบริหารส่วนจังหวัดท างานในพื้นที่ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่ภายใต้
การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง การทับซ้อนกันเชิงพื้นที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารขององค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสามารถช่วยเหลือหรืออุปถัมภ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับล่างได้ผ่านงบประมาณ
โครงการ หรือการเข้าไปแจกของแก่ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้โดยตรง การปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดเช่นนี้จึงเข้าไปสร้างภาพลักษณ์และภาพจ าให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในฐานะหน่วย
ให้บริการในพื้นที่มากกว่าการท างานในระดับชาติที่มักเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางอุดมการณ์ หรือการผลักดัน
เพื่อให้เกิดการก าหนดกฎหมาย ประเด็นที่สอง เงื่อนไขที่ท าให้การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ถูก
เชื่อมโยงไปที่การเมืองระดับชาติ อาจเป็นเพราะว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการมีงบประมาณ
จ านวนมากพอ (องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีงบประมาณปีละ 2,000-3,000 ล้านบาทต่อปี (อดีตนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ, สัมภาษณ์, วันที่ 12 เมษายน 2564)) ที่จะไม่ต้องรอคอยการช่วยเหลือหรือ
การพัฒนาจากนักการเมืองในระดับชาติ ด้วยงบประมาณจ านวนมากนี้เองที่ท าให้นายกองค์การบริหารส่วน
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 119