Page 132 - kpiebook64011
P. 132

4.1.1.1 การสังกัดกลุ่มการเมืองระดับชาติ


                       การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               สมุทรปราการปี 2563 มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อด ารงต าแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่สังกัดกลุ่ม
               การเมืองระดับชาติเพียง 1 คน จาก 5 คนคือ นายธัชชัย เมตโต ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดของคณะ

               ก้าวหน้า นอกจากนั้นคณะก้าวหน้ายังส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในต าแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               ครบทั้ง 36 เขตเลือกตั้ง ใน 6 อ าเภอของจังหวัดสมุทรปราการ เหตุที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเหล่านี้เข้าสังกัดกับ
               กลุ่มการเมืองระดับชาติเกิดขึ้นจากสองปัจจัยหลัก


                       ปัจจัยแรก ผู้สมัครที่สังกัดกลุ่มการเมืองระดับชาติต้องการกระแสจากกลุ่มการเมืองดังกล่าวมารณรงค์
               หาเสียงในพื้นที่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งจากกลุ่มคณะก้าวหน้าเกือบทั้งหมดเป็นหน้าใหม่ทางการเมืองในระดับ
               ท้องถิ่นกล่าวคือ ยังไม่เคยเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นที่มีคนรู้จักอย่างกว้างขวาง เมื่อไม่สามารถใช้

               ประวัติและประสบการณ์ทางการเมืองในระดับท้องถิ่นรณรงค์หาเสียงได้ จึงจ าเป็นต้องพึ่งพากระแสจากกลุ่ม
               การเมืองในระดับชาติ ดังจะเห็นได้จากแกนน าของกลุ่มการเมืองระดับชาติอย่างนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ
               นางสาวพรรณิการ์ วานิช ที่เข้ามาช่วยผู้สมัครหาเสียงในพื้นที่อยู่หลายครั้ง นอกจากนั้น วลี “ล้มบ้านใหญ่” ที่
               เป็นกระแสในระดับชาติได้ถูกถ่ายทอดลงมาในระดับพื้นที่ และถูกใช้เป็นค าขวัญเพื่อการรณรงค์หาเสียงของ

               ผู้สมัครที่สังกัดคณะก้าวหน้าในพื้นที่สมุทรปราการอีกด้วย (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5
               เมษายน 2564)


                       ปัจจัยที่สอง ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่สังกัดกลุ่มการเมืองระดับชาติอาจมีทรัพยากรไม่เพียงพอต่อการหา
               เสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะผู้สมัครหน้าใหม่ที่ส่วนใหญ่สังกัดกลุ่มคณะก้าวหน้า มักจะยังเข้าไม่ถึงแหล่งทรัพยากร
               หรือ “ท่อน้ าเลี้ยง” จากเครือข่ายนักธุรกิจการเมืองในพื้นที่ ท าให้ผู้สมัครหน้าใหม่เหล่านั้นจ าเป็นต้องสังกัด
               กลุ่มการเมืองเพื่อเป็นช่องทางส าหรับระดมทรัพยากรจากผู้ที่สนับสนุน และน าทรัพยากรมาใช้ส าหรับการหา

               เสียง (ผู้ใหญ่บ้านหญิงท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 18 เมษายน 2564)

                         4.1.1.2 การเชื่อมโยงกับพรรคการเมืองระดับชาติอย่างไม่เป็นทางการ


                       แม้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อชิงต าแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการส่วนมาก (4 คน
               จาก 5 คน) ไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าลงสมัครภายใต้สังกัดของพรรคการเมืองระดับชาติ แต่

               ความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งกับแกนน าของพรรคการเมืองระดับชาติ ทั้งความสัมพันธ์ในระดับ
               ตัวบุคคลและความสัมพันธ์ในระดับเครือญาติล้วนมีร่องรอยปรากฏให้เห็น โดยเฉพาะผู้สมัครชิงต าแหน่งนายก
               องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการหมายเลข 1 นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย และหมายเลข 4 นาย

               อ านวย รัศมิทัต ทั้งสองคนนี้เป็นผู้สมัครที่มีความใกล้ชิดกับพรรคการเมืองในระดับชาติ

                       ผู้สมัครรับเลือกตั้งหมายเลข 1 นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย เป็น (อดีต) ภรรยาของนายชนม์สวัสดิ์

               อัศวเหม ซึ่งสมาชิกในตระกูล (นายอัครวัฒน์ อัศวเหม) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 ของจังหวัด
               สมุทรปราการในสังกัดพรรคพลังประชารัฐ จากการสัมภาษณ์ผู้น าชุมชนท าให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การเลือกตั้ง
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2562 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5 คน จาก 7 คน
               ล้วนเป็นผู้สมัครและได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายของตระกูลอัศวเหม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 5

               คนดังกล่าวล้วนสังกัดอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564;




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   114
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137