Page 134 - kpiebook64011
P. 134

การเมืองในพื้นที่อยู่แล้ว กล่าวคือ สมาชิกกลุ่มมักด ารงต าแหน่งหรือเคยผ่านการด ารงต าแหน่งผู้บริหาร หรือ
               สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนต าบลอยู่แล้ว หรือเป็นญาติพี่น้องกับ

               กลุ่มคนดังกล่าวดังจะเห็นได้จากบทสนทนากับแหล่งข้อมูลท่านหนึ่งว่า

                              “ผู้สมัครเชื่อมโยงผ่านการเป็นสมาชิกกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า และส่วนมากก็เป็น ส.อบจ.

                       เก่ามาหลายสมัย หากมีผลงานในพื้นที่ ไม่เกเร สนับสนุนเครือข่ายมาโดยตลอด ทางกลุ่ม
                       สมุทรปราการก้าวหน้าก็ให้การสนับสนุนลงสมัครรับเลือกตั้ง” (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์,
                       วันที่ 5 เมษายน 2564)


                       หากพิจารณารายละเอียดเชิงตัวบุคลลผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               จะพบว่า ประวัติของผู้สมัครสอดคล้องไปกับข้อมูลข้างต้นเพราะผู้สมัครในกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าล้วนมี
               ประสบการณ์การท างานการเมืองในระดับท้องถิ่นมาแล้ว อาทิ เคยด ารงต าแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหาร

               ส่วนจังหวัดมาแล้วเกือบ 12 ปี หรือเคยด ารงต าแหน่งรองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครปากน้ า หรือมี
               ความสัมพันธ์ในระดับเครือญาติกับผู้บริหารองค์การบริหารส่วนต าบล อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงตัวบุคคล
               ในกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าย่อมเกิดขึ้นเสมอ แต่ก็ด าเนินไปโดยไม่ก่อให้เกิดความแตกแยกภายในเครือข่าย
               อย่างมีนัยส าคัญ เมื่อมีผู้สมัครในกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าต้องการจะวางมือไม่เป็นตัวแทนของกลุ่มเพื่อ

               แข่งขันในการเลือกตั้ง ทางกลุ่มก็จะให้สิทธิแก่สมาชิกของกลุ่มที่จะวางมือเสนอชื่อคนที่จะเข้ามาเป็นตัวแทน
               เพื่อลงสมัครแข่งขันเลือกตั้งในอนาคต ผู้ให้ข้อมูลรายหนึ่งยืนยันในหลักการนี้เอาไว้ว่า


                              “แต่ถ้า ส.อบจ. บางคนไม่อยากลงสมัครแล้ว ก็ให้ส่งตัวแทนของตนเองมา เพื่อพิจารณา หาก
                       ทางกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าพิจารณาแล้วว่าเหมาะสมมีโอกาสชนะ ก็จะสนับสนุนให้ลงสมัคร”
                       (ผู้ใหญ่บ้านชายท่านหนึ่ง, สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2564)


                       หลักเกณฑ์ที่ผู้ต้องการวางมือจากกลุ่มใช้เพื่อเลือกตัวแทนให้เข้ามาสังกัดกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า
               มักเลือกจากคนที่เคยสนับสนุนตนเองในการเลือกตั้งที่ผ่านมา หรือเลือกจากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วน
               ท้องถิ่นระดับล่าง เช่น นายกเทศมนตรีหรือนายกองค์การบริหารส่วนต าบล ในพื้นที่ที่เป็นฐานเสียงให้แก่ตนเอง

               มาอย่างยาวนาน เพื่อให้มาเป็นตัวแทนของกลุ่มแข่งขันในเวทีระดับจังหวัด (ประธานชมรมศิษย์เก่าของ
               มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในพื้นที่, สัมภาษณ์, วันที่ 9 เมษายน 2564)


                       นอกจากผู้สมัครรับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว ในระดับตัวผู้สมัครชิง
               ต าแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็พบร่องรอยที่ชี้ให้เห็นว่า ผู้สมัครชิงต าแหน่งนายกองค์การบริหาร
               ส่วนจังหวัดหมายเลข 2 นายรัชชานนท์ ทองอร่าม และหมายเลข 3 นายน าพล คารมปราชญ์ มีความเชื่อมโยง

               กับกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อนางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย แกนน ากลุ่ม
               สมุทรปราการก้าวหน้า ชนะการเลือกตั้งและได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ด ารงต าแหน่งนายก
               องค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว นายรัชชานนท์ก็ได้รับแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหาร
               ส่วนจังหวัด ส าหรับนายน าพล หากพิจารณาจากประสบการณ์แล้ว เคยด ารงต าแหน่งรองนายกองค์การบริหาร

               ส่วนจังหวัดในช่วงที่นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สาเหตุที่ท าให้นายรัชชา
               นนท์และนายน าพล ซึ่งดูใกล้ชิดกับกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า ตัดสินใจลงสมัครชิงต าแหน่งนายกองค์การ
               บริหารส่วนจังหวัดเป็นเพราะ ทางกลุ่มกังวลต่อการใช้การตลาดทางการเมืองของคู่แข่งอย่างผู้สมัครในสังกัด
               คณะก้าวหน้า โดยผู้ให้ข้อมูลรายหนึ่งอธิบายการลงสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครเบอร์ 2 และ 3 ว่า ทางกลุ่ม




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   116
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139