Page 138 - kpiebook64011
P. 138

จังหวัดสมุทรปราการสามารถสร้างการอุปถัมภ์ผ่านโครงการต่าง ๆ และส่งมอบผลประโยชน์จากโครงการ
               เหล่านั้นให้แก่คนในพื้นที่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงต่อการเมืองและนักการเมืองระดับชาติมากนัก


               4.2 บรรยากาศทางการเมืองในพื้นที่


                       ประเด็นบรรยากาศทางการเมืองในหัวข้อนี้มุ่งความสนใจไปที่การแข่งขันของตระกูลการเมืองในพื้นที่
               การสร้างและเปลี่ยนแปลงของขั้วอ านาจทางการเมือง รวมถึงบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นและเครือข่ายที่

               ปรากฏในการเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการปี 2563 การเลือกตั้งครั้ง
               นี้ยังเป็นการแข่งขันกันของตระกูลอัศวเหมและรัศมิทัต ซึ่งเป็นตระกูลการเมืองที่แข่งขันกันมาเกือบ 20 ปีใน
               สนามการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส าหรับการเปลี่ยนแปลงขั้วอ านาจทางการเมืองในพื้นที่ไม่ปรากฏ
               อย่างเด่นชัด เพราะขั้วอ านาจเดิมยังสามารถรวมตัวและประสานความร่วมมือกันได้อย่างต่อเนื่องผ่านการ
               ก่อตั้งกลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้า โดยเราอาจจัดให้กลุ่มสมุทรปราการก้าวหน้าคือ “จักรกลเศรษฐกิจการเมือง

               ที่ส าคัญของสมุทรปราการ” ที่ผนวกรวมนักการเมืองท้องถิ่นและเครือข่ายต่าง ๆ ให้เกิดเป็นโครงสร้างเชิง
               สถาบันท าหน้าที่บัญชาการการเลือกตั้งตามจุดต่าง ๆ เพื่อระดมคะแนนเสียงให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและ
               เครือข่าย


                      4.2.1 การแข่งขันทางการเมืองของตระกูลทางการเมืองหรือทายาททางการเมืองในท้องถิ่น


                       ตระกูลทางการเมืองที่ลงสมัครแข่งขันในสนามการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               สมุทรปราการมายาวนานคือ ตระกูลอัศวเหม และรัศมิทัต เมื่อแรกเริ่มแกนน าของทั้งสองตระกูลต่างประสาน

               ความร่วมมือในทางการเมืองเพื่อต่อสู้กับคู่แข่งทางการเมืองอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ในระยะต่อมาเมื่อมีการแข่งขันกัน
               ทางการเมืองสูง ทั้งสองตระกูลก็กลายเป็นคู่แข่งทางการเมืองในท้ายที่สุด การแข่งขันทางการเมืองของสอง
               ตระกูลเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี 2547 การแข่งขันในสนาม
               เลือกตั้งระดับจังหวัดครั้งนี้ นายอ านวย รัศมิทัต เป็นฝ่ายชนะในการเลือกตั้งรอบแรก อย่างไรก็ดีคณะกรรมการ
               การเลือกตั้งมีมติให้ใบเหลืองแก่นายอ านวย ท าให้ต้องจัดการเลือกตั้งรอบสอง ผลการเลือกตั้งในรอบที่สอง

               ปรากฏว่านายสมพร อัศวเหม (น้องชายนายวัฒนา อัศวเหม) เป็นฝ่ายชนะและด ารงต าแหน่งนายกองค์การ
               บริหารส่วนจังหวัด (วรพร อัศวเหม, 2548, น. 63) เมื่อนายสมพร อัศวเหม เสียชีวิตในขณะด ารงต าแหน่ง
               คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงได้ก าหนดให้มีการเลือกตั้งในปี 2550 โดยนายอ านวย รัศมิทัต ได้รับชัยชนะใน

               ครั้งนี้ การต่อสู้ในสนามการเมืองระดับจังหวัดของทั้งสองตระกูลยังคงด าเนินต่อมาในการเลือกตั้งนายก
               องค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี 2554 การเลือกตั้งครั้งนี้นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม (บุตรชายนายวัฒนา อัศวเหม)
               เป็นฝ่ายได้ชัยชนะเหนือนายอ านวย รัศมิทัต การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปี 2563 ก็เช่นกัน
               ทั้งสองตระกูลส่งผู้สมัครลงแข่งขันโดยตระกูลอัศวเหมส่ง นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย (อดีตภรรยานายชนม์

               สวัสดิ์ อัศวเหม) เป็นผู้สมัครชิงต าแหน่ง ในขณะที่ตัวแทนจากตระกูลรัศมิทัตยังคงเป็นนายอ านวยเช่นเดิม จาก
               ประวัติการแข่งขันทางการเมืองของทั้งสองตระกูล ควรที่จะต้องอธิบายให้เห็นก าเนิดและการเติบโตในเส้นทาง
               การเมืองของทั้งสองตระกูล












                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   120
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143