Page 45 - kpiebook63032
P. 45
44 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว
2.2 ฐำนแนวคิดพรรคกำรเมือง
สถาบันทางการเมืองในนามพรรคการเมือง เป็นกลุ่มองค์การที่ถือเป็นองค์การที่เป็นทางการ
ภายใต้อุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกัน ความคิดจิตวิญาณและความเชื่อทางการเมืองเช่นเดียวกัน
โดยมีในลักษณะที่มุ่งเป้าประสงค์ไปสู่ความต้องการในความพยายามกำาหนดทิศทางอำานาจและ
จัดการผลประโยชน์ในทางการปกครอง ตลอดจนการมีอำานาจในการจัดการนโยบายสาธารณะ อีกทั้ง
ยังมุ่งที่จะเข้ามาสู่ผู้ควบคุมบริหารอำานาจบริหารประเทศ ลักษณะการขับเคลื่อนพรรคการเมืองในประเทศไทย
มีความแตกต่างกันภายใต้อุดมการณ์หรือจุดยืน “ฝ่ายซ้าย” หรือ “ฝ่ายขวา” ซึ่งนำาไปสู่การดำาเนินกิจกรรม
ทางการเมืองที่อาจขัดแย้งกันทางอุดมการณ์ แม้แต่การขัดแย้งทางพฤตินัย นับแต่อดีตที่พรรคการเมือง
ของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นภายหลังการปฏิวัติของคณะราษฎรจนมาถึงปัจจุบัน การครอบงำากิจกรรมและ
การดำาเนินภารกิจของพรคการเมืองอาจไม่ได้ดำาเนินแนวทางตามระบอบประชาธิปไตยได้อย่างสะดวก
เรียบร้อยมากนักด้วยปัจจัยหลายสาเหตุ ดังนั้นการถือกำาเนิดของพรพรรคการเมืองในปัจจุบันภายใต้
กฎหมายใหม่จึงเป็นที่น่าสนใจที่จะศึกษาในแง่ความมุ่งหวังที่แท้จริงของพรรคการเมือง
หยุด แสงอุทัย (2517) คำาว่า “พรรคการเมือง” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Political party” และ
ภาษาฝรั่งเศสว่า “Partie politique” และเยอรมันว่า “Politische partai” ซึ่งเป็นคำาที่มาจากรากเหง้า
อันเดียวกันคือมาจากภาษาลาติน คำา ว่า Pars ซึ่งแปลว่า “ส่วน” พรรคการเมืองจึงหมายความว่า “ส่วน”
ของราษฎรทั้งหมดในประเทศ กล่าวคือหมายถึงการที่ราษฎรแบ่งแยกออกไปเป็นส่วนๆ ตามความคิดเห็น
ประโยชน์ได้เสียทางการเมือง ฯลฯ
พรรคการเมือง (Political party) เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำาคัญอย่างยิ่งสำาหรับ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะพรรคการเมืองเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่าง
ภาคประชาชนกับภาครัฐบาลทำาหน้าที่บริหารปกครอง พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มี
ความชอบธรรมในการเลือกตัวแทนในรูปแบบการเลือกตั้ง (Election) เพื่อให้ได้บุคคลหรือกลุ่มบุคคล
เข้าไปทำาหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรและผลประโยชน์ของสังคม แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า พรรคการเมือง
จะมีเฉพาะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น เพราะพรรคการเมืองในระบอบการปกครองที่มี
เพียงแต่วัตถุประสงค์บทบาท และหน้าที่ของพรรคการเมืองแต่ละระบอบอาจมีความแตกต่างหลากหลาย
กันไป (จักษ์ พันธ์ชูเพชร, 2549)
วิสุทธิ์ โพธิ์แท่น (2544) ให้คำานิยามพรรคการเมืองว่าหมายถึง กลุ่มบางคนที่มีแนวคิดหรือ
อุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียวกัน รวมกันจัดตั้งเป็นรากฐานที่มีการจัดองค์กรที่แน่นอนชัดเจน
มีการกำาหนดทางเลือกเกี่ยวกับนโยบายที่สำาคัญในการปกครองและบริหารประเทศในด้านต่างๆ มีการคัดเลือก
บุคคลเข้าดำารงตำาแหน่งทางการเมือง พยายามเข้าไปมีหรือมีส่วนร่วมในอำานาจรัฐจนสามารถจัดตั้งรัฐบาล
เพื่อบริหารประเทศ