Page 50 - kpiebook63032
P. 50

49








                          3. ถ้าพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นเสียงข้างน้อยในสภาและไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้

                  จะต้องทำาหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน (Opposition) คอยควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล ด้วยวิธีการช่วย
                  กลั่นกรองการออกกฎหมาย ควบคุมงบประมาณการตั้งกระทู้ถาม หรือเสนอญัตติ ไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี

                  เป็นรายบุคคลหรือคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ


                          4. พรรคการเมืองจะต้องทำาหน้าที่เป็นผู้คอยประสานงานระหว่างกลุ่มต่างๆ อาทิ กลุ่มอิทธิพล
                  หรือกลุ่มกดดัน (Pressure groups) กลุ่มผลประโยชน์ (Interest groups) กับรัฐบาล เพราะกลุ่มเหล่านี้นั้น

                  จะมีบทบาทสำาคัญในการสนับสนุนพรรคการเมืองที่มีแนวนโยบายสอดคล้องกันกับกลุ่มของตนให้ได้รับ
                  ชัยชนะในการเลือกตั้งเพื่อที่จะได้เป็นรัฐบาลและช่วยรักษาผลประโยชน์ให้กับพวกตน


                          5. เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน พรรคการเมืองย่อมมีสมาชิกอยู่ตามที่ต่างๆ กัน

                  กิจกรรมในทางการเมืองมีอยู่เป็นประจำา พรรคต้องทำาหน้าที่ชี้แจงข้อนโยบายของรัฐบาลประกอบกับ
                  ความคิดเห็นหรือท่าทีของพรรคต่อนโยบายนั้นๆ ทำาให้มีประชาชนกับรัฐบาลมีการติดต่อรับทราบเรื่อง
                  ราวต่างๆ ทั้งจากรัฐบาลไปยังประชาชนและจากประชาชนไปยังรัฐบาล เช่น ในรูปของความประสงค์

                  ต่างๆ ที่ต้องการให้รัฐบาลตอบสนอง


                          6. ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเมืองของประเทศโดยให้การอบรมศึกษา
                  ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน (Political socialization) เช่น การแจกจ่ายเอกสาร การกล่าวปราศรัยและ

                  ใช้สื่อมวลชนต่างๆ ส่งข่าวให้ประชาชนได้รับทราบความเป็นไปของบ้านเมืองในแนวทางที่ถูกต้องที่ควร


                          7. จัดแถลงนโยบายของพรรคให้ประชาชนได้ทราบ เพื่อที่ประชาชนจะได้นำาไปพิจารณาศึกษา
                  ประกอบการตัดสินใจในการที่จะให้ความสนับสนุนพรรคด้วยการสมัครเป็นสมาชิกพรรคก็ดี หรือลงคะแนน

                  เสียงเลือกตั้งให้ก็ดี




                          ไพฑูรย์ โพธิสว่าง (2561) ได้จำาแนกหน้าที่ของพรรคการเมืองโดยสรุปได้ ดังนี้

                          1. หน้าที่ที่จะให้การศึกษาทางการเมือง (Politicial education) แก่ประชาชน หน้าที่นี้ถือว่าสำาคัญ

                  ยิ่งในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ซึ่งพรรคการเมืองยิ่งทำาให้ประชาชนซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

                  เข้าใจว่า ประชาธิปไตยคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร วิถีทางประชาธิปไตยมีอยู่อย่างไร ประชาชนจะได้รับ
                  การคุ้มครองผลประโยชน์จากพรรคการเมืองอย่างไร ซึ่งพรรคการเมืองทุกพรรคย่อมมีโครงการ (Program)
                  หรือนโยบาย (Policy) ของพรรคซึ่งได้ประกาศให้ประชาชนทราบถึงแนวทางความคิดเห็นและประโยชน์ได้

                  เสียทางการเมืองของประชาชน รวมทั้งการโฆษณาเร้าใจประชาชนให้เข้าร่วมกิจกรรมของทางพรรคเข้าเป็น

                  สมาชิกพรรค ตลอดจนลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคในเมื่อถึงฤดูกาลเลือกตั้ง หรือ
                  แม้แต่หลังการเลือกตั้งพรรคการเมืองจะต้องรายงานกิจกรรมต่างๆ ของพรรคการเมืองให้ประชาชนทราบ
                  ซึ่งจะทำาให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมืองอยู่เสมอ ในการให้การศึกษาแก่ประชาชนพรรคการเมืองอาจจะ
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55