Page 55 - kpiebook63032
P. 55

54       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว








                      2. กลุ่มผลประโยชน์ร่วมมือกับกลุ่มกดดันในวงการต่างๆ กดดันให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนโยบาย

             ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำาเนินงานของตนหรือขัดกับอุดมการณ์ของตน เช่น กลุ่มผู้ส่งออกข้าวร่วมมือ
             กับนักวิชาการและ สื่อมวลชนกดดันให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายการกีดกันการค้าข้าว (พรีเมี่ยมข้าวและ

             การจำากัดโควต้า)


                      3. กลุ่มผลประโยชน์์สนับสนุนนโยบายบางอย่างที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผลประโยชน์ของตน
             ในทางอ้อม หรือไม่ให้ความร่วมมือกับนโยบายของรัฐบาลจนทำาให้การดำาเนินนโยบายมีอุปสรรค


                      4. กลุ่มกดดันและกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมมีบทบาทในการสร้างวาระเชิงนโยบาย (Policy
             agenda) และ กำาหนดประเด็นเชิงนโยบาย (Policy issue) เช่น กลุ่มสมาคมเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยสามารถ

             สร้างวาระเชิงนโยบายที่ เกี่ยวกับอ้อยและนำ้าตาลว่าหนึ่งในประเด็นหลักของอ้อยและนำ้าตาลต้องมีเรื่อง

             การพยุงราคาอ้อยที่เกษตรกรขายได้





                     ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์


                      Almond & Powellm (1966, อ้างถึงใน พฤทธิสาณ ชุมพล, 2547) ได้แบ่งประเภทกลุ่มผลประโยชน์

             ออกเป็น 4 ประเภทดังนี้


                       1. กลุ่มผลประโยชน์ของบุคคลที่เคว้งคว้างไร้บรรทัดฐาน (Anomic interest groups)
             กลุ่มผลประโยชน์ประเภทนี้จะปะทุขึ้นอย่างค่อนข้างจะกะทันหันตามอารมณ์ เช่น การจลาจล การลอบสังหาร

             ตลอดจนการเดินขบวนประท้วง การเรียกร้องผลประโยชน์ในรูปลักษณะนี้มักจะเกิดขึ้นในสภาพที่ไม่มี
             กลุ่มที่ได้รับการจัดตั้งอยู่ในสังคม หรือว่าหากมีก็มีบางกลุ่มที่ถูกปิดกั้นมิให้แสดงออกซึ่งความต้องการ

             ดังนั้นความไม่พึงพอใจที่ถูกปิดอยู่กดดันไว้จะปะทุออกมาถ้ามีเหตุการณ์เอื้ออำานวยหรือมีผู้ชักนำาหรือ
             ปลุกระดมให้เกิดขึ้น การชักนำานี้อาจกระทำาโดยผู้ที่อยู่ในอำานาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของเขา

             เองก็ได้ แต่ข้อสำาคัญไม่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรแต่อย่างใด


                      2. กลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่มีการจัดตั้ง (Non - associational interest groups) หมายถึง
             กลุ่มเครือญาติ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มภูมิภาค กลุ่มสถานภาพ กลุ่มชนชั้น กล่าวคือ เป็นกลุ่มคนที่อาจไม่ได้

             พบปะกันอย่างสมำ่าเสมอ แต่มีความรู้สึกร่วมกัน มีความเชื่อมโยงกันทางจิตใจทางวัฒนธรรมอย่างรู้ใจกัน
             พอสมควร การเรียกร้องผลประโยชน์ของกลุ่มนี้จะเป็นครั้งคราว โดยผ่านบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือผู้นำา

             เช่น ผู้นำาทางศาสนา ตัวอย่างเช่น การที่เจ้าของที่ดินหลายคนขอร้องข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือรัฐมนตรี
             ให้พิจารณาไม่ขึ้นภาษีที่ดิน โดยที่การขอร้องนี้เกิดขึ้นเมื่อเล่นกอล์ฟด้วยกัน


                       3. กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นสถาบัน (Institutional interest groups) กลุ่มผลประโยชน์ประเภทนี้

             จะเป็นองค์กรที่เป็นทางการ (Formal organizations) เช่น พรรคการเมือง สถาบันนิติบัญญัติ กองทัพ
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60