Page 59 - kpiebook63032
P. 59
58 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว
อำาเภอวัฒนานคร อำาเภออรัญประเทศ อำาเภอตาพระยา อำาเภอวังนำ้าเย็น และกิ่งอำาเภอคลองหาด
จังหวัดปราจีนบุรี โดยการเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 13 (4 เมษายน พ.ศ. 2519) ในเขตพื้นที่สระแก้วมีสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรได้ 2 คนต่อเขต เลือกตั้ง คือ มีนายเสนาะ เทียนทอง สังกัดพรรคชาติไทย และ
นายนิพนธ์ เตียเจริญ สังกัดพรรคสังคมชาตินิยม โดยมีพรรคการเมืองคู่แข่งร่วมคือ พรรคกิจสังคม
พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคธรรมสังคม พรรคธรรมาธิปไตย พรรคพิทักษ์ไทย
พรรคพลังประชาชน พรรคไทย พรรคชาติสยาม พรรคกรุงสยามปฏิรูป พรรคเกษตรสังคม
พรรคแนวร่วมสังคมนิยม พรรคแนวร่วมประชาธิปไตย และพรรคพลังใหม่ รวมทั้งสิ้น 16 พรรคการเมือง
ทั้งนี้การเลือกตั้งทั่วไป ครั้งที่ 13 นายเสนาะ เทียนทอง ได้รับชัยชนะเป็นสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร จังหวัดปราจีนบุรี สมัยแรก ด้วยคะแนน 18,648 คะแนน จากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 111,610 คน
ต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในเขตจำานวน 272,955 คน คิดเป็นร้อยละ 40.88 และเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียว
ของพรรคชาติไทยที่ได้รับการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งแรกแห่งนี้ ซึ่งการเข้ามาลงสมัครรับเลือกตั้งของ
นายเสนาะนั้น เกิดจากคำาชวนของพลโทยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตแม่ทัพภาคที่ 1 (ตำาแหน่งสุดท้าย
ก่อนเกษียณอายุราชการ คือ รองผู้บัญชาการ ทหารบกในยศ พลเอก) ซึ่งมีความสนิทสนมกับนายเสนาะ
เป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากในช่วงสมัยนั้นพลโทยศมีหน้าที่ในการป้องกันชายแดนไทยจากภัยสงคราม
ของกัมพูชา ซึ่งกองทัพนิยมใช้งานรับเหมาก่อสร้างของนายเสนาะ และนายเสนาะ ก็ตอบแทนด้วย
การช่วยเหลือการศึกแก่ฝ่ายทหารอย่างเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนรถแทรกเตอร์ หรือรถแบคโฮ
มาทำาบังเกอร์ และพลโทยศ ก็มีความสนิทสนมกับ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้าพรรคชาติไทย
และรักษาการรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ภายใต้รัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ปราโมช และเมื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2519 พลโทยศ ได้รับคำาร้องขอจาก พล.ต.อ.ประมาณ ให้หาบุคคลที่มีศักยภาพ
เป็นที่นับหน้าถือตาในพื้นที่สระแก้วเพื่อลงเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใหม่นี้ในนามพรรคชาติไทย จึงเป็น
เหตุให้พลโทยศได้ชักชวนนายเสนาะ เข้ามาลงรับสมัครเลือกตั้ง และนับแต่นั้นนายเสนาะจึงเริ่มรณรงค์
หาเสียงเลือกตั้งด้วยการใช้ “ต้นทุนทางสังคม” ที่มีอยู่เดิมในการช่วยเหลือภาคส่วนราชการ ทั้งฝ่ายปกครอง
และฝ่ายทหารมาโดยตลอดนับตั้งแต่จับงานธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และลูกนา-ลูกหนี้ หลายพันครัวเรือน
ที่พ่อนายเสนาะได้ทิ้งให้เขาก่อนเสียชีวิต เป็นฐานคะแนนเสียงให้กับเขานั่นเอง
จากจุดเริ่มต้นของการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายเสนาะ เทียนทอง ถือเป็นการวาง
รากฐานทางการเมืองและเป็นจุดกำาเนิดของการตั้งมั่นในการเป็นนักการเมืองของบุคคล ในครอบครัว
เทียนทอง และผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในเครือเทียนทอง โดยต่อมานายวิทยา เทียนทอง ผู้เป็นน้องชาย
ของ นายเสนาะ ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับเลือกตั้ง และต่อมาเมื่อ มีการยกฐานะ
อำาเภอสระแก้วขึ้นเป็นจังหวัดสระแก้ว ทำาให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้วเป็นเอกภาพจาก
เขตเลือกตั้งในเขตจังหวัดเดิม โดยต่อมานายฐานิสร์ เทียนทอง ซึ่งเป็นหลายชาย ของนายเสนาะและ