Page 54 - kpiebook63032
P. 54

53








                          อภิญญา รัตนมงคลมาศ (2545) กลุ่มผลประโยชน์ คือ การรวมกันมาซึ่งเป้าหมายของ

                  ผลประโยชน์เช่นอุดมการณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจร่วมกัน ผลประโยชน์ดังกล่าว
                  กลุ่มผลประโยชน์จะมีบุคคลที่เจาะจงชัดเจนเพื่อเรียกร้อง ให้รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐยินยอมปฏิบัติตาม

                  สิ่งที่ตนต้องการด้วยการแสดงออกให้ผู้กำาหนดนโยบายของรัฐได้รับรู้ถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่มและพยายาม
                  ผลักดันให้วัตถุประสงค์นั้นเกิดนโยบายในการปฏิบัติ




                          วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน และธโสธร ตู้ทองคำา (2548) กลุ่มผลประโยชน์เป็นกลุ่มทุติยภูมิที่กำาลังจะ
                  เกิดการรวมตัวของบุคคลหรือปัจเจกบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันในบางประการและมีพฤติกรรมที่มุ่ง

                  ใช้อำานาจและอิทธิพลดำาเนินกิจกรรมในการบริหารสาธารณะที่มีต่อหน่วยงานรัฐหรือนโยบายสาธารณะ
                  โดยผ่านกระบวนการทางการเมืองกลุ่มผลประโยชน์นั้นมีความหมายแบ่งออกเป็น 2 แนวทางได้แก่

                  1) แนวอุดมคติ และ 2) แนวพฤติกรรม




                          Graham Wootton แห่งมหาวิทยาลัย Tuffts สหรัฐอเมริกา ได้อธิบายความหมายของกลุ่ม
                  ผลประโยชน์ไว้ว่า กลุ่มผลประโยชน์คือ กลุ่มทุกกลุ่มหรือองค์การทุกองค์การที่แสวงหาอิทธิพลเหนือ

                  นโยบายสาธารณะ (Public policy) ตามวิธีทางที่กำาหนด ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธที่จะรับผิดชอบโดยตรง
                  ที่จะปกครองประเทศ กลุ่มผลประโยชน์เป็นของผู้ร่วมทัศนะที่ได้ทำาการเรียกร้องต่อกลุ่มอื่นๆ ในสังคม

                  และเมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์นี้กระทำาการเรียกร้องข้อเสนอของตน โดยผ่านสถาบันใดๆ ของรัฐบาล
                  ก็ตาม กลุ่มผลประโยชน์นี้จะกลายเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง (Political interest groups) และ

                  เมื่อใดที่กลุ่มผลประโยชน์ปฏิบัติการในระดับการเมือง กลุ่มนี้จะถูกเรียกว่ากลุ่มผลักดัน (Presure groups)



                          ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ (2557) อธิบายว่า กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม

                  มีบทบาทสำาคัญต่อการกำาหนดและการดำาเนินนโยบาย สาธารณะในต่างประเทศและประเทศไทย นโยบาย
                  สาธารณะหลายฉบับสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งต้องการได้รับการสนับสนุน

                  จากรัฐบาล เช่น นโยบายการอุดหนุนสินค้าเกษตร ได้แก่ อ้อยหรือยางพารา แสดงให้เห็นอิทธิพลที่สำาคัญ
                  ของกลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรไร่อ้อยและสวนยางพาราต่อกระบวนการการกำาหนดนโยบาย การเกษตร

                  หรือนโยบายประชานิยมในภาคการผลิตอุตสาหกรรม เช่น นโยบายสิทธิพิเศษทางการค้า หรือนโยบาย
                  รถคันแรกแสดงให้เห็นว่ากลุ่มอุตสาหกรรม มีบทบาทต่อการดำาเนินนโยบายอุตสาหกรรมของรัฐบาล และ

                  มีบทบาทต่อการกำาหนดและดำาเนินนโยบายในแง่มุมต่างๆ ดังนี้


                          1. กลุ่มผลประโยชน์มีบทบาทในการกดดันให้รัฐบาลคงนโยบายที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับตน
                  เช่น กลุ่มผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่กดดันให้รัฐบาลคงนโยบายพรีเมี่ยมข้าว (Rice premium) และการจำากัด

                  โควต้าการส่งออกข้าว (Quota rents) เพื่อผู้กขาดตลาดการส่งออกข้าว
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59