Page 49 - kpiebook63032
P. 49

48       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว








                      เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง (2553) อธิบายว่า แม้หน้าที่ของพรรคการเมืองจะมีอยู่หลายประการ

             แต่อาจแยกหน้าที่หลักของพรรคการเมืองออกเป็นสองประการใหญ่ๆ หน้าที่อื่นๆ นั้นเพียงแต่แยกย่อย
             ออกจากหน้าที่หลักทั้งสองประการนี้เท่านั้น หน้าที่ของพรรคการเมือง คือ


                      1. พรรคการเมืองเป็นตัวกลางเชื่อมความต้องการและบทบาทของประชาชนกับรัฐบาล ลำาพัง

             ประชาชนแต่ละคนนั้นย่อมไม่มีอิทธิพลต่อรัฐบาล หากแต่ถ้าประชาชนที่มีความเห็นตรงกันมารวมตัวกันเข้า
             ทำาความคิดเห็นของตนให้เป็นปึกแผ่นเป็นนโยบายของพรรคการเมืองเพื่อเสนอต่อประชาชนคนอื่นๆ

             พิจารณาเลือกตั้งพรรคของตน ความต้องการของประชาชนจึงจะมีนำ้าหนักขึ้น พรรคการเมืองจะเป็น
             ผู้รวบรวม คัดเลือก และส่งผ่านประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ

             ที่เป็นฐานเสียงของตนเข้าสู่การพิจารณาของรัฐ และผลักดันให้รัฐบาลนำาความต้องการดังกล่าวไปปฏิบัติ
             ทำาให้รัฐบาลมีโอกาสได้สื่อสารกับประชาชนผ่านตัวกลาง นอกจากนี้ในแง่ตัวกลางเชื่อมบทบาทของประชาชน

             กับรัฐบาล พรรคการเมืองยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง โดยคัดเลือกผู้มีความสามารถ
             มาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อชิงชัยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐบาลแทนประชาชนส่วนใหญ่ โดย

             ในหน้าที่นี้พรรคการเมืองต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ด้านการเมืองการปกครองประเทศด้วย


                      2. พรรคการเมืองเป็นผู้ใช้อำานาจทางการเมือง หากพรรคการเมืองสามารถชนะการเลือกตั้ง
             ได้เสียงข้างมากในรัฐสภา และจัดตั้งรัฐบาล พรรคการเมืองย่อมเป็นผู้กำาหนดกฎหมายตามความประสงค์
             ของประชาชน และนำากฎหมายนั้นไปบังคับใช้ พรรคการเมืองกลายเป็นผู้นำาความต้องการของประชาชน

             มาปฏิบัติให้เกิดผลด้วยตนเอง นอกจากนี้การใช้อำานาจพรรคการเมืองยังหมายรวมถึงการที่พรรคการเมือง

             เป็นฝ่ายค้านที่คอยตรวจสอบควบคุมการใช้อำานาจของฝ่ายรัฐบาล โดยการตั้งกระทู้ถาม พิจารณากลั่น
             กรองร่างพระราชบัญญัติ รวมทั้งการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล




                      วิทยา ชินบุตร (2553) (อ้างถึงใน สรรพิชย์ พิทยาธรเลิศ, 2555) กล่าวถึงหน้าที่ของพรรคการเมือง
             ได้แก่


                      1. การส่งตัวแทนเข้ารับสมัครรับเลือกตั้ง (Representative) พรรคการเมืองช่วยคัดเลือกผู้

             สมัครรับเลือกตั้งจากจำานวนผู้สนใจในการเมืองหลายๆ คน จะเห็นว่าพรรคการเมืองที่มีชื่อเสียงและมี
             แนวโน้มในการชนะเลือกตั้ง มักมีผู้สนใจสมัครเข้าเป็นตัวแทนของพรรคกันมาก พรรคการเมืองต้องคัดเลือก

             ว่าควรจะส่งบุคคลใด โดยทั่วไปตามหลักการประชาธิปไตยผู้สมัครอาจไม่สังกัดพรรคการเมืองใดๆ ก็ได้
             คือสมัครในนามอิสระ (Independent) แต่ในปัจจุบันนี้ผู้สมัครอิสระมีน้อย ทั้งนี้เพราะพรรคการเมือง

             ได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทสำาคัญในการดำาเนินงานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย


                      2. ถ้าผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคได้รับเลือกตั้งเข้ามาจำานวนมากจนได้รับเสียงข้างมากในสภาฯ
             ก็ต้องทำาหน้าที่จัดตั้งรัฐบาล (Government) หรือเป็นแกนนำาในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารราชการประเทศ

             ต่อไปตามแนวนโยบายของพรรคที่ได้แถลงไว้ต่อประชาชน
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54