Page 53 - kpiebook63032
P. 53

52       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว








             รัฐบาลขาดเสถียรภาพอยู่ได้ไม่นาน เพราะต่างพรรคก็จะดึงผลประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองของตนเอง

             ก็แสดงว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองที่เป็นของประชาชนทั้งประเทศ แต่พรรคการเมืองที่
             ร่วมรัฐบาลกลับไปแย่งกันเอง เพราะพรรคการเมืองหลายพรรคผสมกันจัดตั้งรัฐบาลนี้แหละจึงทำาให้รัฐบาล

             ไม่อยู่ครบเทอม ทำาให้ประชาชนเบื่อหน่ายกับระบบการเมืองที่รัฐบาลแย่งผลประโยชน์กันเอง แต่อย่างไร
             ก็ตามระบบหลายพรรคนี้ทำาให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสามารถเลือกผู้แทนที่มีความคิดเห็นใกล้เคียง

             กับตนได้มากที่สุด แต่รัฐบาลจะอ่อนแอพรรคการเมืองในลักษณะนี้มักจะพบในประเทศประชาธิปไตย
             ที่กำาลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย เป็นต้น






             2.3 ฐำนแนวคิดกลุ่มผลประโยชน์




                      สังคมการรวมตัวก่อกำาเนิดของโครงสร้างทางการเมืองที่แข็งแรง การตั้งมั่นของอุดมการณ์
             และระบบนโยบายของสถาบันทางการเมือง เกิดจากการผลักดัน แรงกดดัน และข้อเรียกร้องของกลุ่ม

             องค์กร ชมรม สมาคมทั้งที่เป็นรูปแบบทางการ และรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ บ้างสามารถดำารงตนให้เกิด
             ความแข็งแรงในอำานาจซึ่งนำาไปสู่การเจรจาต่อรอง บ้างเป็นองค์กรเฉพาะกิจ บ้างถูกมองว่าเป็นชนชั้น

             นำาที่ครอบงำาการเมือง โดยจุดมุ่งหมายสำาคัญร่วมกันเพื่อตอบสนองความต้องการของตนและพวกพ้อง
             คาดหวังผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในบางครั้งกลุ่มเหล่านี้ถือเป็นตัวชี้วัดความสำาเร็จของ

             การดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองและกลุ่มสถาบันทางการเมืองอื่นๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า
             ระบบความเป็นอิสระในการบริหารงานมักเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของกลุ่มทุน หรือผู้สนับสนุนอยู่บ่อยครั้ง

             กลุ่มผลประโยชน์จึงมีความสำาคัญและปัจจัยที่มีความเชื่อมโยงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสูง

                     นิยำมควำมหมำย



                      จุมพล หนิมพานิช (2542) อธิบายว่า กลุ่มผลประโยชน์ (Interest group) หมายถึง กลุ่มคนที่มี
             ผลประโยชน์ทางการเมืองเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน แต่ถ้าสมาชิกของกลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวได้ก่อตั้ง

             องค์การ (หรือกลุ่มที่มีการจัดระเบียบโครงสร้างอย่างดี) ขึ้นมาที่จะช่วยให้พวกเขาเองได้รับการสนับสนุน
             จากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ทั้งนี้เพื่อให้เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่พวกเขาได้ตั้งใจไว้บรรลุผล



                      สุขุม นวลสกุล และวิศิษฐ์ ทวีเศรษฐ์ (2542) กล่าวว่า กลุ่มผลประโยชน์ คือ กลุ่มของบุคคลที่
             รวมกันเพราะมีอาชีพหรือมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน และมีความต้องการที่จะให้นโยบายของรัฐบาล

             สนองต่อความต้องการของกลุ่มคน การรวมกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์มีลักษณะคล้ายคลึงกับการรวมกัน
             เป็นพรรคการเมือง ความแตกต่างของกลุ่มผลประโยชน์กับพรรคการเมืองอยู่ตรงที่พรรคการเมืองต้องการ

             เป็นรัฐบาลเพื่อกำาหนดนโยบายเสียเอง ส่วนกลุ่มผลประโยชน์ไม่ต้องการเป็นรัฐบาลเอง แต่ต้องการให้
             รัฐบาลมีนโยบายสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่ม
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58