Page 57 - kpiebook63032
P. 57
56 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว
ในทางการเมือง ที่รวมกันโดยเหตุผลทางการเมือง คือ มีผลประโยชน์ร่วมกันในทางอุดมการณ์ทาง
การเมือง กลุ่มผลประโยชน์สมัยใหม่เมื่อพิจารณาโครงสร้างของกลุ่มในเรื่องผู้นำากลุ่ม และสมาชิกของกลุ่มแล้ว
จะเห็นว่ามีสมาชิกเข้าร่วมเป็นจำานวนมาก กลุ่มผลประโยชน์แบบดั้งเดิม เป็นลักษณะที่เป็นมวลชน
คล้ายกันกับพรรคการเมืองมวลชน ส่วนผู้นำาของกลุ่มผลประโยชน์นี้จะได้ตำาแหน่งโดยการต่อสู้ทางการเมือง
ภายในกลุ่ม ทำาให้กลุ่มมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากกว่ากลุ่มอื่น
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทย
ไพฑูรย์ โพธิสว่าง (2561) ได้อธิบายประเภทของกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทยโดยใช้กรอบ
แนวคิดการจำาแนกประเภทของกลุ่มผลประโยชน์ของ Gabriel Almond และ Bingham Powell มาใช้แบ่ง
ประเภทกลุ่มผลประโยชน์ในการเมืองไทย สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. กลุ่มผลประโยชน์ที่รวมตัวกันชั่วคราว ได้แก่ กลุ่มจลาจล กลุ่มนัดหยุดงาน กลุ่มที่ทำาการ
ประท้วงรัฐบาล
2. กลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่ได้อยู่ในรูปของสมาคม ได้แก่ กลุ่มเชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรมต่างๆ
เช่น ชาวจีน ชาวไทยมุสลิม ชาวไทยที่นับถือศาสนาคริสต์
3. กลุ่มผลประโยชน์ที่มีการรวมตัวกันในรูปของสถาบัน ได้แก่ ข้าราชการ กลุ่มทหาร กลุ่มนักการเมือง
กลุ่มตำารวจ เป็นต้น
4. กลุ่มผลประโยชน์ที่รวมตัวกันในรูปของสมาคม ได้แก่ กลุ่มชาวนา กลุ่มกรรมกร สมาคมครู
สมาคมการค้า สมาคมหนังสือพิมพ์ สมาคมวิชาชีพ สมาคมอาสาสมัคร เป็นต้น
2.4 โครงสร้ำงสถำบันทำงกำรเมืองจังหวัดสระแก้ว
ส่วนราชการระดับภูมิภาคตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินนั้นจัดตั้งขึ้นเพื่อ
รองรับภารกิจและตอบสนองนโยบายทางการเมืองของสถาบันทางการเมืองฝ่ายบริหาร ดังนั้นเพื่อให้ได้
ข้อมูลสำาหรับการวิจัยที่ครบถ้วนสมบูรณ์ผู้วิจัยจึงมีความจำาเป็นต้องอธิบายความสัมพันธ์โครงสร้างสถาบัน
ทางการเมืองของจังหวัดสระแก้ว โดยแบ่งเป็นการบริหารราชการส่วนภูมิภาค มีนายวิชิต ชาตไพสิฐ
ดำารงตำาแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ส่วนรองผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว 2 คนได้แก่ นายณัฏฐชัย
นำาพูลสุขสันติ์ และนายอุดมเขต ราษฎร์นุ้ย