Page 52 - kpiebook63032
P. 52
51
ความรอบรู้ ชำานาญในการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ จึงเป็นการฝึกฝนสมาชิกพรรคให้เป็นผู้นำา
ไปในตัว ในกรณีที่พรรคเป็นพรรคฝ่ายค้าน พรรคย่อมกำาหนดตัวบุคคลชนชั้นนำาของพรรคเป็นรัฐบาลเงา
(Shadow cabinet) เพื่อติดตามศึกษางานของกระทรวงต่างๆ ที่ตนถนัด และจะนำาความรู้เหล่านั้นเข้า
บริหารราชการแผ่นดิน ในโอกาสที่พรรคตนได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินเป็นพรรครัฐบาล
6. หน้าที่ของพรรคการเมืองในการที่จะควบคุมให้สมาชิกอยู่ในระเบียบวินัย เป็นหน้าที่หลัก
หน้าที่หนึ่งของพรรคการเมือง เพื่อให้การดำาเนินกิจกรรมในสภาผู้แทนฯ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เป็น
เอกภาพอันหนึ่งอันเดียวกัน
ระบบของพรรคกำรเมือง
ระบบพรรคการเมืองเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบ คือ
1. ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว (Single – party system) ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียวนี้
ส่วนใหญ่มักจะพบในประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการ คือ ทั่วทั้งประเทศนั้นมีพรรคการเมืองอยู่เพียง
พรรคเดียว เมื่อมีการเลือกตั้งประชาชนก็จะเลือกตั้งคนเท่านั้น ไม่มีโอกาสในการเลือกพรรคการเมือง
หลายๆ พรรคได้อย่างพรรคการเมืองในประเทศเยอรมนีและอิตาลี สมัยก่อนมีพรรคนาซีและพรรคฟาสชีสต์
หรือในปัจจุบันก็มีพรรคคอมมิวนิสต์ ในประเทศที่มีการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ แต่ประเทศที่มี
พรรคการเมืองพรรคเดียวขึ้นเป็นรัฐบาลมิได้หมายความว่าประเทศนั้นเป็นประเทศเผด็จการเสมอไป เช่น
ประเทศอินเดีย ญี่ปุ่น ซึ่งมักจะมีพรรคการเมืองพรรคเดียวจัดตั้งรัฐบาลหลายสมัยคือ เมื่อมีการเลือกตั้ง
คราวใดพรรคการเมืองพรรคเดิมก็มักจะได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภามากที่สุด ส่วนพรรคเล็กพรรคน้อยนั้น
มีเหมือนกัน แต่ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาน้อยมาก ตามตัวอย่างที่ว่านี้ประเทศอินเดียหรือประเทศญี่ปุ่น
ก็มิได้เป็นการปกครองด้วยเผด็จการ อย่างอินเดียอาจจะเป็นประชาธิปไตยมากกว่าหลายๆ ประเทศใน
แถบเอเชียเสียอีก
2. ระบบสองพรรค (Two – party system) ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคนี้มักจะพบใน
ประเทศที่ใช้ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งใน
ประเทศนั้นจะมีพรรคการเมืองเพียงสองพรรคใหญ่เท่านั้นที่หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันจัดตั้งรัฐบาลจากการ
เลือกตั้งของประชาชนคือ ในสองพรรคนั้นถ้าพรรคใดได้เสียงข้างมากในสภา พรรคนั้นก็มีสิทธิจัดตั้งรัฐบาล
จะเห็นได้ว่าจะให้พรรคใดจัดตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับความต้องการของประชาชนในประเทศ
3. ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (Multi-party system) ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค
ปรากฏอยู่ในประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย หลายประเทศที่พรรคการเมืองหลายพรรค
ได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาจำานวนไล่เลี่ยกัน ไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาเกินกึ่งของ
จำานวนสมาชิกสภาทั้งหมด จึงทำาให้มีความจำาเป็นต้องจัดตั้งแบบผสม เมื่อรัฐบาลผสมหลายพรรคทำาให้