Page 47 - kpiebook63032
P. 47
46 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว
3. การรวมกลุ่มของบุคคลที่กล่าวมานั้น จะต้องมีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคม อาจจะมีความขัดแย้งกันแต่ก็ต้องไม่ถึงกับมีแนวคิดตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง เพราะหากมีแนวคิด
ที่แตกต่างกันขนาดนั้นจะไม่เป็นการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งเป็นพรรคการเมือง เพราะกลุ่มบุคคล
ที่มาร่วมกันจัดตั้งพรรคจะต้องเป็นกลุ่มบุคคลที่มีแนวคิดหลักที่เหมือนกัน เห็นไปในทิศทางเดียวกัน หรือ
คล้ายคลึงกันมากที่สุด
4. เป้าหมายหลัก คือ ความปรารถนาที่จะเข้าไปมีอำานาจทางการเมืองหรือเป็นผู้ใช้อำานาจรัฐ
โดยจะต้องดำาเนินกิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ตามระบบสังคมการเมืองเพื่อให้สามารถเป็นแกนนำาหรือ
ร่วมจัดตั้งรัฐบาลในฐานะตัวแทนผู้ใช้อำานาจรัฐโดยชอบธรรม ทั้งนี้เพื่อที่จะได้มีอำานาจในการบริหาร
ประเทศให้เป็นไปตามนโยบายหรือแนวคิดของกลุ่มและ/หรือพรรคตน แต่หากยังไม่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล
เนื่องจากมีจำานวนเสียงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากเพียงพอหรือไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล
ผสม (Coalition government) ก็ทำาหน้าที่เป็นฝ่ายค้านเพื่อทำาหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของรัฐบาล
และชี้แนะให้รัฐบาลเห็นข้อผิดพลาดบกพร่องในการทำางานเพื่อให้รัฐบาลไปดำาเนินการแก้ไขต่อไป
5. พรรคการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย (Representative democracy) จำาเป็นที่จะต้องมี
การคัดสรรบุคคลเพื่อทำาหน้าที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นตัวแทนประชาชน เพราะลำาพังเพียงการมีกลุ่ม
และ/หรือคณะบุคคลที่มีแนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ร่วมกันเท่านั้นไม่เพียงพอที่จะทำาให้
การดำารงอยู่ในฐานะพรรคการเมืองนั้นสมบูรณ์ เพราะการเลือกตั้งเป็นวิถีทางที่จะทำาให้พรรคการเมือง
สามารถที่จำาแนกแนวคิดที่พรรคตนมีไปปฏิบัติในฐานะรัฐบาล หรือทำาหน้าที่อีกด้านหนึ่งในการตรวจสอบ
และ/หรือควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล การคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้งนั้น ถือได้ว่าเป็น
ลักษณะเฉพาะของพรรคการเมืองที่แตกต่างจากการรวมกลุ่มเป็นสมาคม ชมรม หรือองค์กรอื่น เนื่องจาก
องค์กรอื่นเหล่านี้มีลักษณะเป็นการรวมตัวของกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งมิได้มีเป้าหมายในการเข้าไปแย่งชิง
อำานาจรัฐหรือการจัดตั้งรัฐบาล จึงไม่มีการส่งบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้ง
หน้ำที่ของพรรคกำรเมือง
สมพงษ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ (2520) ได้นำาเสนอไว้ดังนี้
1. เป็นเครื่องมือเชื่อมโยงกลุ่มต่างๆ ในสังคมเข้าด้วยกัน
2. เป็นแหล่งรวมประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเข้าเป็นกลุ่มก้อน เพื่อให้เกิดความผูกพัน
ต่อกันด้วยความมุ่งหวังจะทำาให้งานทางการเมืองดำาเนินไปอย่างถูกต้องและได้ผล และทำาผลให้เกิดพลัง
ทางการเมือง