Page 43 - kpiebook63032
P. 43

42       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว








                      3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participant political culture) เป็นลักษณะที่สังคมได้

             รับการพัฒนาแล้ว ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองและเริ่มตื่นตัวในสิทธิ เสรีภาพและหันมา
             สนใจการเมืองมากขึ้น มีการรับรู้ในเรื่องอำานาจรัฐและยอมรับในอำานาจนั้น ในสังคมดังกล่าวประชาชน

             เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด



                     ปัญหำกำรเลือกตั้ง


                      การเลือกตั้งเป็นกระบวนการที่สำาคัญในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักการการมีส่วนร่วม

             ทางการเมือง แต่สำาหรับประเทศไทยที่มีการเลือกตั้งนับตั้งแต่ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
             พ.ศ.2475 สถานการณ์ทางการเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยยังขาดการพัฒนาและกลายเป็น

             ปัญหาใหญ่ในเชิงโครงสร้างอำานาจทางการเมือง ดังที่ปรากฏให้เห็นจากบริบทการเมืองไทยที่ถูกครอบงำา
             ด้วยอำานาจที่มองไม่เห็นผ่านการรัฐประหารอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งถือเป็นอุปสรรคที่ก่อให้เกิดการหยุดชะงัก

             ของประชาธิปไตย รวมถึงปัญหาอื่นๆ ที่แวดล้อมสภาพการเมืองไทยมาเป็นระยะเวลายาวนาน สั่งสม
             และยืดเยื้อมาจนถึงการเลือกตั้ง พ.ศ.2562 ที่อยู่ภายใต้อำานาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

             โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้


                      1. ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง โอฬาร ถิ่นบางเตียว และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (2560) ได้อธิบาย
             ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงว่าเป็นพฤติกรรมทุจริตการเลือกตั้งโดยใช้เงินแลกเปลี่ยนกับการลงคะแนนเสียง

             เลือกตั้ง หรือการเสนอสิ่งตอบแทนในรูปผลประโยชน์หรือทรัพย์สินต่างๆ หรืออาจเป็นการสัญญาว่าจะให้
             ทรัพย์สินสิ่งตอบแทนแก่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เพื่อให้ลงคะแนนหรืองดเว้นการลงคะแนนแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง

             คนใดหรือพรรคการเมืองใดในเขตเลือกตั้งนั้น การซื้อเสียงมีหลายวิธีแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและ
             ท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งการซื้อผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือซื้อคู่แข่ง โดยการที่ผู้สมัครเสนอเงื่อนไขต่างๆ แก่คู่แข่งขัน

             เพื่อไม่ให้ลงสมัครแข่งขันกับตน การซื้อบุคคลที่มีอิทธิพลหรือมีความนิยมในหมู่ชาวบ้านรวมทั้งครู กำานัน
             ผู้ใหญ่บ้าน พระ หรือผู้นำาชุมชน เพื่อดำาเนินการช่วยเหลือให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นนั้นๆ ลงคะแนนเสียง

             ให้แก่ตน โดยพฤติกรรมดังกล่าวนี้แม้จะผิดทั้งในมุมกฎหมายและจริยธรรมทางการเมือง แต่พบว่า
             ไม่สามารถขจัดให้หมดไปได้ ยังแทรกซึมอยู่ภายในสภาพสังคมไทยทุกระดับชั้น โดยเฉพาะการเลือกตั้ง

             ครั้งนี้ ที่มีความเชื่อมโยงของการใช้เงินในรูปแบบต่างๆ เพื่อหวังคะแนนนิยม ในขณะที่รัฐบาลมีการใช้
             งบประมาณอุดหนุนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐก่อนหน้าการเลือกตั้ง ทำาให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกต

             ได้ว่าเป็นความพยายามซื้อเสียงทางอ้อมให้กับพรรครัฐบาล เช่นเดียวกับบริบทภายในจังหวัดสระแก้ว
             ซึ่งเป็นพื้นที่สำาคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ยังพบว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ยังมีปัญหาการซื้อสิทธิ์

             ขายเสียงอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่อนทำาลายรากฐานของความเป็นประชาธิปไตยอย่างรุนแรง
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48