Page 38 - kpiebook63032
P. 38

37








                          5. ระบบการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อเพียงอย่างเดียว (Part-list system, PS) ระบบการเลือกตั้ง

                  แบบบัญชีรายชื่ออย่างเดียว (PS) มีลักษณะสำาคัญคือ 1) อาจใช้ทั้งประเทศเป็นเขตเลือกตั้งเพียงเขตเดียว
                  ก็ได้ หรืออาจแบ่งประเทศเป็นเขตเลือกตั้งใหญ่ๆ เพียงไม่กี่เขต โดยที่แต่ละเขตมีผู้แทนได้จำานวนมาก

                  2) พรรคการเมืองทั้งหลายจัดทำาบัญชีรายชื่อผู้สมัครของพรรคตนตามจำานวนที่กฎหมายต้องการเสนอให้
                  ผู้เลือกตั้งโดยเรียงลำาดับชื่อที่มีความสำาคัญจากมากสุดไปน้อยสุด 3) ผู้เลือกตั้งเลือกพรรคใดพรรคหนึ่ง

                  เพียงพรรคเดียว 4) แต่ละพรรคได้ส่วนแบ่ง ส.ส.ตามสัดส่วนของคะแนนที่พรรคได้รับผู้เลือกตั้ง 5) บางประเทศ
                  อาจตั้งเกณฑ์ขั้นตำ่าเอาไว้เพื่อกันพรรคที่มีขนาดเล็กเกินไปหรือมีนโยบายสุดขั้วออกไปจากการแบ่งสัดส่วน

                  เช่น ถ้าได้คะแนนไม่ถึง 5% ของคะแนนทั้งหมด เป็นต้น (สมเกียรติ วันทะนะ, 2558)



                          ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมกำรเลือกตั้ง


                            การเลือกตั้งเป็นการแสดงออกทางการเมืองโดยมีปัจจัยแวดล้อมเป็นตัวกำาหนด นัยสำาคัญ

                  ดังกล่าวนี้ถือเป็นพฤติกรรมที่บ่งบอกถึงความตั้งมั่นในกิจกรรมและการมีส่วนร่วมของประชาชนภายใต้
                  บริบทแวดล้อมที่สามารถทำาให้การแสดงออกทางพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา ตลอดจนเป็น

                  สิ่งที่เป็นเกณฑ์ใช้สำาหรับตัดสินใจลงคะแนนเสียง ดังนั้นพฤติกรรมการเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจในแง่
                  การเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ทางการเมือง ภายใต้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา การแสดงออก

                  ทางการเลือกตั้งย่อมได้รับผลกระทบในหลากหลายมิติ ซึ่งสมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ (2553) อธิบายว่า
                  พฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งเป็นพฤติกรรมทางการเมืองอันเป็นรูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง

                  อย่างหนึ่ง การศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในระบบการเมืองต่างๆ นั้น แง่มุมหนึ่งนับได้ว่า
                  เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำาความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับการปกครองใน

                  ระบอบประชาธิปไตย เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกระบวนการปกครองได้รับการกล่าวถึง
                  ว่าเป็นหัวใจของกิจกรรมทางการเมืองทุกระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

                  นักรัฐศาสตร์หลายท่านได้ให้ข้อสังเกตว่า การเลือกตั้งในปัจจุบันนับวันแต่จะมีความซับซ้อนหรือมีปัจจัย
                  ที่เกี่ยวเนื่องมากขึ้น มีการใช้เทคนิคและกุศโลบายต่างๆ เพื่อมุ่งหมายชัยชนะทางการเมืองมากขึ้น รวมทั้ง

                  มีการใช้เงินในการเลือกตั้งเป็นจำานวนมาก นักรัฐศาสตร์ได้พยายามศึกษาอะไรเป็นปัจจัยที่มีต่อการตัดสิน
                  ทางการเมืองของผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้เพื่อหาเหตุผลหรือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการลงคะแนน

                  ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และนำาไปเสนอต่อสาธารณะ เพื่อให้นักการเมือง ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียทราบทั่วกัน
                  ในเชิงแนวคิดทฤษฎี สุจิต บุณบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2527) กล่าวไว้ว่า นักสังคมศาสตร์โดยมาก

                  คือกลุ่มนักสังคมวิทยาและนักรัฐศาสตร์ได้แบ่งทฤษฎีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้


                          1. ทฤษฎีปัจจัยตัวกำาหนด (Deterministic theory) ความพยายามที่จะทำาความเข้าใจความสัมพันธ์
                  ระหว่างประชาชนกับการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย โดยมุ่งไปที่พฤติกรรมการลงคะแนนเสียง

                  เลือกตั้ง ซึ่งนับวันจะมีความซับซ้อนหรือมีปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องมากขึ้น ทั้งนี้ ได้พยายามศึกษาว่า อะไรเป็น
                  ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทางการเมืองของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อหาเหตุผลหรือ ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลัง
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43