Page 36 - kpiebook63032
P. 36
35
ประชาธิปไตย (ประธานาธิบดีหรือนายกรับมนตรีแล้วแต่กรณี) จะต้องถือกำาเนิดมาจากการเลือกตั้ง
ด้วยกันทั้งสิ้น
3. ให้ความเป็นตัวแทนปรากฏเป็นรูปธรรม (Providing representation) เมื่อการเลือกตั้งเกิดขึ้น
อย่างเที่ยงธรรมและมีการแข่งขัน (Fair and competitive) ผลลัพธ์ที่ได้คือ การแปรหลักการเป็นตัวแทน
ให้ปรากฏเป็นรูปธรรม ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของประชาชนทั้งปวงจะสะท้อนออกในตัวแทน
ที่พวกเขาเลือกตั้งขึ้น และโดยตัวแทนดังกล่าวที่ทำาให้การบริหารกิจการบ้านเมืองดำาเนินไปได้อย่างเป็น
รูปธรรมในทางปฏิบัติ
4. มีอิทธิพลต่อนโยบาย (Influencing policy) ในบางสถานการณ์ ประชาชนมีความคิดเห็น
แตกต่างกันในนโยบายหนึ่งๆ อย่างกว้างขวาง การเลือกตั้งจะทำาหน้าที่ส่งเสริมอิทธิพลต่อนโยบายได้
นั่นคือ พรรคหรือกลุ่มบุคคลที่ชนะการเลือกตั้งจะเป็นผู้มีอิทธิพลกำาหนดว่าจะใช้นโยบายอะไรแบบใด
แน่นอนว่านโยบายใดๆ ของรัฐบาลทั้งหลายในโลกนี้มิได้กำาหนดขึ้นมาจากการเลือกตั้งทั่วไปเสียทั้งหมด
แท้จริงแล้วนโยบายส่วนใหญ่กำาหนดขึ้นมาจากความเหมาะสมในทางปฏิบัติในบริบทหนึ่งๆ เป็นสำาคัญ
แต่การกล่าวเช่นนี้มิได้ปิดประตูการทำาหน้าที่ใช้อิทธิพลกำาหนดนโยบายไปอย่างสิ้นเชิง
5. ให้การศึกษาแก่ประชาชน (Educating votes) กระบวนการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของประเทศ
ประชาธิปไตยนั้นทำาให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้พบข้อมูลข่าวสารจำานวนมากมายมหาศาลทั้งในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง นโยบายของแต่ละพรรค และรวมไปถึงตัวระบบการเมืองเอง
ว่าทำางานอย่างไรด้วย การเลือกตั้งอย่างสมำ่าเสมอและต่อเนื่องจึงเป็นการให้การศึกษาทางการเมืองอย่าง
สำาคัญที่สุดประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย
6. สร้างความชอบธรรม (Building legitimacy) ชื่อของการเลือกตั้ง ใช้สร้างความชอบธรรมให้กับ
ผู้มีอำานาจได้ ความข้อนี้หมายความว่า ชนชั้นนำาในประเทศหนึ่งๆ จะได้รับความชอบธรรม ถ้าเขาแสดง
ให้เห็นว่าเขาได้ตำาแหน่งมาจากการเลือกตั้ง และด้วยเหตุที่การเลือกตั้งมีความหมายเชิงบวกหรือมีชื่อเสียง
หอมหวานเช่นนี้ ผู้นำาในประเทศที่เป็นระบอบอำานาจนิยม (Authoritarian) หรือเผด็จการจำานวนมาก
จึงอยากได้ชื่อว่าตนเองเป็นผู้อุปถัมภ์ให้มีการเลือกตั้งไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง หรือระดับใดระดับหนึ่งอยู่ด้วย
มิใช่ว่าการเลือกตั้งดังกล่าวจะมีลักษณะเสรีและเที่ยงธรรม (Free and fair) หรือไม่มากน้อยเพียงใดก็ตาม
7. สร้างความเข้มแข็งให้กับชนชั้นนำา (Strengthening elites) การเลือกตั้งคือเครื่องมือที่ชนชั้นนำา
ใช้บงการและควบคุมประชาชนในฐานะที่เป็นมวลชน (Masses) พรูดอง (Piesse-joseph Proudhon, 1809-1865)
นักประชาธิปไตยชาวฝรั่งเศส สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ค.ศ. 1848 เคยเตือนว่า “สิทธิการเลือกตั้ง
ของประชาชนทั้งมวล นั่นคืออุปกรณ์ในการต่อต้านการปฏิวัติ” ซึ่งหมายความว่า ชนชั้นนำาที่ชาญฉลาด
จะต้องปล่อยให้มีการให้สิทธิการเลือกตั้งแก่ประชาชนทั้งมวล และเมื่อทำาเช่นนั้นแล้วพลังอยากปฏิวัติ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมของประชาชนก็จะหายไปเพราะพวกเขารู้สึกว่าตนมีส่วนในการสร้างสรรค์