Page 32 - kpiebook63032
P. 32
31
บทที่ 2
แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.1 ฐำนแนวคิดพฤติกรรมกำรเลือกตั้ง
ควำมหมำยพฤติกรรมกำรเลือกตั้ง
การแสดงออกทางการเมืองที่ถือเป็นแกนสำาคัญสำาหรับระบอบประชาธิปไตย คือการเลือกตั้งที่เกิด
จากการลงคะแนนโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำานาจ เป็นสิทธิของประชาชน แสดงออกถึงความเท่าเทียม
ยุติธรรม สะท้อนความต้องการของประชาชนผ่านการเลือกตั้งผู้แทนเข้าระบอบการเมือง จึงเป็นสิ่งที่
ประชาชนใฝ่หา ด้วยเจตนาว่าจะร่วมแสดงความเป็นเจ้าของอำานาจ ในอีกแง่มุมหนึ่ง ผู้ที่มีความประสงค์
จะเข้าสู่ระบอบการเมือง ต่างต้องสร้างความน่าเชื่อถือ ถ่ายทอดอุดมการณ์ และทำาให้ประชาชนศรัทธา
ในการลงคะแนนเสียงให้ ดังนั้น การเลือกตั้งจึงมีบาทบาทสำาคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
ไม่เพียงแต่จะเป็นกระบวนการทางการเมือง แต่เป็นหลักการสำาคัญที่ขาดไม่ได้ในการปกครองโดยประชาชน
เป็นเจ้าของอำานาจ โดยมีนิยามความหมายดังนี้
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ (2548) กล่าวว่าการเลือกตั้ง คือ กิจกรรมที่ประชาชนแสวงหาทางเลือก
ในการปกครองและบำาบัดความต้องการของตนเองเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของ
อำานาจอธิปไตยได้มีส่วนร่วมทางการเมืองอันเป็นกลไกที่แสดงออกซึ่งเจตจำานงของประชาชนที่เรียกร้อง
หรือสนับสนุนให้มีการกระทำาหรือละเว้นการกระทำาอย่างใดอย่างหนึ่งในทางการเมืองหรือการตัดสินใจ
ในนโยบายสาธารณะที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนโดยประชาชนทั่วไปเลือกผู้แทนหรือพรรคการเมืองที่
มีอุดมการณ์ นโยบาย และวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับตน ด้วยความคาดหวังว่าผู้แทนหรือพรรคการเมือง
ที่ตนเลือกให้ไปใช้อำานาจอธิปไตยแทนตนนั้น จะนำาอุดมการณ์และนโยบายไปเป็นแนวนโยบายใน
การบริหารประเทศ และทำาหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเอง การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการแสวงหา
ทางเลือกในการเมืองการปกครองของประชาชนนั่นเอง