Page 34 - kpiebook63032
P. 34
33
การเลือกตั้งตำาแหน่งต่างๆ จำานวนหนึ่งอย่างสมำ่าเสมอและเป็นระยะตามที่กำาหนดไว้ล่วงหน้า แต่ผู้ออกเสียง
เลือกตั้งไม่อาจใช้สิทธิของตนได้อย่างเสรีตามความหมายของคำาเพราะว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งที่รัฐ
จัดให้มีเพียงคนเดียว (Single candidate elections) การเลือกตั้งแบบนี้จึงเป็นการเลือกตั้งที่มีแต่รูปแบบ
ส่วนเนื้อหาขาดการแข่งขันกันระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นจึงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการเลือกตั้ง
ที่มีความหมายอย่างแท้จริงและไม่เป็นการเลือกตั้งที่เสรี
3. การเลือกตั้งที่ประชาชนมีเสรีภาพในการนำาเสนอตัวเข้ารับการแข่งขัน (Freedom to put
forth candidates) ในการเลือกตั้งที่ถือว่าเสรีนั้น พลเมืองทุกคนต้องมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้ง
พรรคการเมือง (Form political parties) และส่งผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้ง (Put forth candidates)
4. ประชาชนมีเสรีภาพที่จะรู้จักผู้สมัครรับเลือกตั้งรวมทั้งนโยบายของเขา (Freedom to know
and discuss the choices) การเลือกตั้งที่ได้ชื่อว่าเสรีนั้นพลเมืองผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งโดยทั่วไปต้อง
มีเสรีภาพที่จะรู้จักคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งพอสมควรว่าเขามีความเหมาะสมอย่างไรและทำาไม
นโยบายของเขาหรือพรรคการเมืองที่เขาสังกัดจึงควรได้รับเลือก การที่จะทำาให้เงื่อนไขนี้เป็นไปได้และ
เกิดความเสมอภาคระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยกัน บางทีรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำานาจหน้าที่ในการจัด
การเลือกตั้งก็ต้องจัดทำาโอกาสให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ใช้สื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ในช่วงระยะเวลา
หนึ่งๆ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้สมัครที่ยากจนจะมีโอกาสได้ประชาสัมพันธ์
ตนเองได้ตามความเหมาะสม
5. พลเมืองที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิเลือกตั้ง (Universal adult suffrage) การเลือกตั้งจะได้
ชื่อว่าเสรี พลเมืองที่เป็นผู้ใหญ่ทุกคนในประเทศต้องมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ในปัจจุบันประเทศประชาธิปไตย
ที่มั่นคงทั้งหลายทั่วโลกนิยมใช้เกณฑ์ประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
6. นำ้าหนักของคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่ากัน (Equal weighting of votes) การเลือกตั้งที่เรียกได้ว่า
เสรี คะแนนเสียงของพลเมืองทุกคนต้องมีค่าเท่ากัน เกณฑ์ข้อนี้เป็นไปตามหลักความเสมอภาคในสิทธิ
ทางการเมือง (Political equality) ของระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่สมัยกรีกโบราณที่ถือว่าพลเมืองมี
ความเสมอภาค เมื่อใช้เกณฑ์นี้ความแตกต่างระหว่างศาสนาและความมั่งคั่งจะไม่ก่อให้เกิดความแตกต่าง
ในนำ้าหนักของคะแนนเสียงเลือกตั้งของเขา
7. การลงคะแนนลับหรือการเลือกตั้งของพลเมืองไม่ถูกคุกคาม (Free registration of choices)
การเลือกตั้งที่เสรี การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของพลเมืองต้องจัดให้เป็นความลับ นั่นคือ ไม่มีใครสามารถ
ล่วงรู้ได้ว่าใครลงคะแนนให้ใคร มาตรการดังกล่าวนี้มีไว้เพื่อปกป้องคุ้มครองมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งรู้สึก
ลำาบากใจว่าจะถูกบังคับ ข่มขู่ หรือล้างแค้นลงโทษโดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง การที่จะทำาให้มาตรการนี้ใช้
ปฏิบัติได้ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจึงต้องจัดหาสถานที่ (เช่น คูหาที่ใช้กาบัตรเลือกตั้ง) และอุปกรณ์
(หีบใส่บัตรเลือกตั้งที่กาแล้ว) ในการเลือกตั้งเพื่อให้บรรลุคำาว่า การลงคะแนนลับ (Secret ballot)