Page 39 - kpiebook63032
P. 39
38 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว
พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และนำาไปเสนอต่อสาธารณะ ปัจจัยด้านสถานภาพ
ทางสังคมเป็นตัวกำาหนดพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการเสนอเงื่อนไข
ที่กำาหนดรูปแบบ (Pattern) ของพฤติกรรม ซึ่งไม่ได้มุ่งที่จะสรุปรวมเชิงนิรนัย (Deductive generalization)
หรือทำานายพฤติกรรมในอนาคต หากแต่ให้ประโยชน์อย่างสำาคัญ ในด้านการจัดตัวแปรอันหลากหลาย
ที่เกี่ยวข้องให้เป็นระเบียบ ปัจจัยทางสังคมที่กำาหนดพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของบุคคล
ได้แก่ เพศ อาชีพ รายได้ การศึกษา และที่อยู่อาศัย เป็นต้น
2. ทฤษฎีความสำานึกเชิงเหตุผล (Consciously rational theory) เป็นการนำาแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์
มาอธิบายเกี่ยวกับการตัดสินใจในการลงคะแนนเลือกตั้งของบุคคล โดยเป็นการพิจารณาพฤติกรรม
บนพื้นฐานของความชอบด้วยเหตุและผลของมนุษย์กับการตัดสินใจทางการเมือง ให้ความสำาคัญกับ
การบริหารการเลือกตั้ง ตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง การรณรงค์หาเสียงนโยบายพรรค การแจกจ่าย
สิ่งของ และรวมถึงการใช้เงินในการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำานึกตรึกตรองของผู้ไปใช้
สิทธิ เป้าหมายในการตัดสินใจของแต่ละคนในการลงคะแนนเสียง คือเป้าหมายทางการเมือง ไม่พิจารณา
ลักษณะเจตนารมณ์ที่ซับซ้อนอื่นๆ ของผู้ตัดสินใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งผู้ตัดสินใจเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด
ตามลักษณะค่านิยม หรือเป้าหมายโดยเลือกทางที่จัดลำาดับไว้สูงสุด ส่วนผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร หรือ
บรรลุเป้าหมายตามที่ผู้ตัดสินใจมุ่งหวังหรือไม่นั้นมิใช่เรื่องสำาคัญ
3. ทฤษฎีระบบ (System theory) ประยุกต์เอาทฤษฎีระบบการเมือง (Political system theory)
ของเดวิด อีสตัน มาใช้เป็นกรอบแนวทางในการศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พิจารณา
ว่าการลงคะแนนเสียงตามปกติ (Normal votes) คือ ความสมดุลของความนิยมในพรรคการเมือง
สองพรรคใหญ่ในการเลือกตั้งที่มีลักษณะของการเลือกพรรคหรือมีความนิยมในพรรคใดพรรคหนึ่ง
เป็นฐานความสมดุลของระบบการเมืองว่าการขึ้นลงของอัตราการลงคะแนนเสียงและการเลือกคนใด
คนหนึ่ง ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของปัจจัยแวดล้อมซึ่งผันแปรไปในช่วงสมัยที่มีการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มี
ผลระยะสั้น (Short - Term forces) เมื่อประมวลรวมกันแล้วจะมีผลต่อปัจจัยพื้นฐาน คือ ความนิยมพรรค
ที่ถือว่าเป็นแรงผลักดันระยะยาว (Long – Term forces) ซึ่งอาจทำาให้ผู้ลงคะแนนเสียงเปลี่ยนความนิยม
พรรคจากพรรคหนึ่งเป็นการแกว่งออกจากสภาวะสมดุล “ปกติ” และเมื่อถึงการเลือกตั้งคราวต่อไปก็มักจะ
แกว่งกลับ โดยภาวะสมดุล (Equilibrium) เช่นนี้ไปเรื่อย
สมเกียรติ วันทะนะ (2558) กล่าวว่า ทฤษฎีที่พยายามอธิบายถึงพฤติกรรมการออกเสียงหรือ
ลงคะแนนเลือกตั้งของประชาชนนั้นมีทฤษฎีใหญ่ๆ คือ
1. การสังกัดพรรค (Party-identification model) ตามทฤษฎีประชาชนเลือกตั้งตามความผูกพัน
ทางจิตใจที่มีต่อพรรคการเมืองหนึ่งๆ นั้น คือ ชอบพรรคไหนก็เลือกผู้สมัครของพรรคนั้น ผู้ออกเสียง
เลือกตั้งถูกมองว่าเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมืองในระยะยาว เช่น เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทฤษฎีนี้