Page 37 - kpiebook63032
P. 37
36 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว
สังคมอยู่แล้ว ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวเป็นเพียงมายา คำาเตือนของพรูดองมีมูล เพราะกระบวนการเลือกตั้ง
จะทำาให้ความต้องการอันเร่าร้อนของมวลชนนั้นสงบลงและเข้าสู่ช่องทางต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญวางไว้
ความไม่พอใจหรือความเป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองจึงถูกเจือจางหรือละลายให้หายไปได้ด้วยการเลือกตั้ง
นักปฏิวัติมักชี้ว่าการเลือกตั้งเป็นเพียงแค่หลุมพรางเท่านั้น มิได้แก้ปัญหาที่แท้จริงแต่ประการใด
ระบบกำรเลือกตั้ง (Electoral systems)
1. คนที่ได้คะแนนสูงสุด (Single-number plurality, SNP ; เรียกอีกชื่อว่า ผู้เข้าเส้นชัยคนแรก
First past the post, FPTP) ระบบการเลือกตั้งแบบ SNP (ผู้ได้คะแนนสูงสุด) นี้มีใช้ในประเทศอังกฤษ
สหรัฐอเมริกา แคนาดา และอินเดีย เป็นต้น ลักษณะสำาคัญของระบบนี้คือ 1) แบ่งประเทศออกเป็นเขต
เลือกตั้งที่มีขนาดผู้มิสิทธิออกเสียงพอกัน 2) ผู้ออกเสียงเลือกผู้สมัครได้เพียง 1 คน ในเขตของตน และ
3) คนที่ได้รับเลือกตั้งจากแต่ละเขตเลือกตั้ง คือ คนที่ได้คะแนนเหนือคนอื่นๆ เรียกว่า Plurality of votes
หรือ The first past the post)
2. การเลือกตั้ง 2 ระบบ (Second ballot system, SBS) ระบบการเลือกตั้ง 2 ระบบ มี
ลักษณะที่สำาคัญคือ 1) ระบบนี้แบ่งเขตการเลือกตั้งทั่วประเทศออกเป็นเขต โดยที่แต่ละเขตมีผู้แทนได้
เขตละ 1 คน 2) ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดและมากกว่ากึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมดจะเป็นผู้ได้รับเลือก
3) ในกรณีที่ผู้ได้คะแนนสูงสุดได้คะแนนได้ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงทั้งหมด ให้นำาผู้สมัครที่ได้รับ
คะแนนสูงสุด 2 คนแรก มาเลือกใหม่อีกครั้งหนึ่ง 4) ในการเลือกตั้งรอบ 2 ซึ่งมีผู้แข่งขัน 2 คนนั้น คนที่
ได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้ได้รับเลือก
3. การเลือกตั้งแบบมีตัวสำารอง (Alternative vote, AV) ระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวสำารอง
มีลักษณะสำาคัญคือ 1) แบ่งประเทศออกเป็นเขตเลือกตั้งเขตละเท่าๆ กัน โดยแต่ละเขตมีผู้แทนได้ 1
คน 2) ในการลงคะแนนให้ผู้ออกเสียงแต่ละคนเลือกผู้แทนได้ 2 คน หรืออาจมากว่านี้ โดยให้จัดลำาดับ
ความสำาคัญเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 ทั้งนี้การนับคะแนนจะใช้อันดับ 1 ก่อน และเมื่อมีปัญหาจึงค่อย
เอาคะแนนอันดับ 2 มาคิด 3) ในการเขตการเลือกตั้งใดมีผู้ได้รับคะแนนมากกว่า 50% ของคะแนนเสียง
ที่ลงทั้งหมดให้ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือกตั้ง 4) ในกรณีที่เขตเลือกตั้งใดไม่มีผู้ได้รับคะแนนเสียงมากกว่า 50%
ของคะแนนที่ลงทั้งหมด ให้ตัดผู้สมัครที่ได้คะแนนน้อยสุดออกทีละคนโดยเอาคะแนนที่เป็นลำาดับที่ 2
ของผู้ถูกตัดนั้นไปแบ่งให้ผู้สมัครตามรายชื่อที่ปรากฏ และทำาแบบนี้ไปจนกระทั่งได้ผู้สมัครที่คะแนนสูงสุด
และถึง 50% คนแรกให้คนนั้นได้รับเลือกตั้ง
4. ระบบการเลือกตั้งแบบผสมระหว่างเขตกับบัญชีรายชื่อ (mixed-member proportional system,
MMP) ระบบการเลือกตั้งแบบ MMP มีลักษณะสำาคัญคือ 1) แบ่งผู้แทนออกเป็น 2 ชนิด คือ ผู้แทนจาก
เขตเลือกตั้งทั่วประเทศ และผู้แทนจากจากบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองเสนอ 2) ผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะลง
คะแนนได้ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เลือก ส.ส.เขต และส่วนที่ 2 เลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อจากพรรค