Page 42 - kpiebook63032
P. 42

41








                  ของประชาชน ที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาลและเป็นพันธะสัญญาที่รัฐบาลจำาเป็นต้องปฏิบัติตาม

                  นโยบายที่ให้ไว้ นโยบายของรัฐนี้ นับเป็นสัญญาประชาคมที่เป็นผลมาจากการเลือกตั้งทั่วไปอันเป็น
                  ส่วนสำาคัญต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

                            ประการที่สี่ การเลือกตั้งนั้นเป็นกระบวนการ กลไก และขั้นตอนที่แสดงถึงความเป็น

                  ประชาธิปไตย หรือเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทำาให้การเลือกตั้งเป็น
                  เครื่องมือสำาคัญในการป้องกันการใช้ความรุนแรงทางการเมือง การปฏิวัติ รัฐประหาร เมื่อการเมือง

                  เกิดวิกฤตการณ์การเลือกตั้งในแง่นี้จึงเป็นเครื่องมือประการหนึ่งที่จะใช้ลดความขัดแย้งได้

                            ประการที่ห้า การเลือกตั้งก่อให้เกิดการบูรณาการทางสังคม (Social integration) และความรู้สึก

                  ในทางปฏิบัติที่ต่างต้องมีสิทธิหรือหน้าที่ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การเลือกตั้งเป็นกลไกสำาคัญ
                  ทางการเมืองและสังคม ในการสร้างความรู้สึกร่วมกันในการเป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตย และการเป็น

                  เจ้าของประเทศของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหรือเป็นกิจกรรมของพลเมือง (Civic duty)
                  ที่พลเมืองในประชาคมการเมืองจะต้องปฏิบัติ

                            ประการที่หก การเลือกตั้งก่อให้เกิดการกล่อมเกลาทางการเมือง ทั้งนี้เพราะมีกิจกรรมทาง

                  การเมืองหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการรณรงค์หาเสียง ซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้
                  เกิดการสื่อสารถ่ายทอดความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างเสริมการเรียนรู้ระหว่างกันจนนำาไปสู่

                  การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองร่วมกันในที่สุด



                          ปัจจัยด้ำนสภำพสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทำง

                  กำรเมือง


                          Almond and Sidney Verba (1965, อ้างถึงใน สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร 2556)
                  แบ่งสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมือง ดังนี้


                          1. วัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบ (Parochial political culture) เป็นลักษณะสังคมที่ประชาชน

                  ไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ทั้งนี้ เพราะขาดความรู้ความเข้าใจในระบอบการเมืองการปกครองและไม่คิดว่า
                  ตนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ นอกจากนี้ ในสังคมดังกล่าวถือว่าการเมืองการปกครองจะอยู่นอกเหนือ

                  การควบคุมของตน ซึ่งพฤติกรรมทางการเมืองแบบนี้มักปรากฏในสังคมดั้งเดิมที่มีคนจำานวนน้อย
                  สังคมไม่ซับซ้อน ซึ่งอำานาจการปกครองจะอยู่ที่หัวหน้าฝ่ายเท่านั้น


                          2. วัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้า (Subject political culture) เป็นลักษณะสังคมที่เริ่มมี

                  การพัฒนาขึ้นมา ประชาชนเริ่มเรียนรู้ระบบการเมืองการปกครองมีความรู้ความเข้าใจในระบอบการเมือง
                  โดยทั่วไป และเริ่มมีการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้าร่วมในทุกด้าน มักจะเข้าร่วม

                  เพียงบางด้านเท่านั้น
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47