Page 40 - kpiebook63032
P. 40

39








                  เน้นกระบวนการหล่อหลอมกล่อมเกลาทางการเมือง (Political socialization) ที่พ่อแม่ปลูกฝังความนิยม

                  ในพรรคการเมืองที่ตนนิยมแก่ลูกตั้งแต่ในวัยเยาว์ ความภักดีที่บุคคลจะมีต่อพรรคการเมืองยอดนิยม
                  ของตนต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบของการเข้ากลุ่มเพื่อความนิยมพรรคเดียวกัน และ

                  ประสบการณ์ที่ดีจากพรรคการเมืองนั้นๆ ทฤษฎีนี้เน้นว่าจุดสำาคัญอยู่ที่พรรคการเมืองที่สั่งสมส่งทอดมา
                  จากอดีตของแต่ละคนจะเป็นปัจจัยหลักในการที่บุคคลจะเอียงเข้าข้างผู้นำา นโยบายพรรคการเมือง รวมทั้ง

                  ผู้สมัครในนามพรรคที่ตนนิยมโดยปริยาย การสังกัดพรรคจึงเป็นแบบแผนของพฤติกรรมการเลือกตั้งที่มี
                  เสถียรภาพและมีความต่อเนื่อง


                          2. ตัวแบบทางสังคมวิทยา (Sociological model) ทฤษฎีตัวแบบทางสังคมวิทยานี้เชื่อมโยง

                  พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนเข้ากับการเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมที่ตนเป็นอยู่ ต่างกับทฤษฎีแรก
                  ที่เน้นความผู้กพันทางจิตใจและการเลี้ยงดูที่ผู้เลือกตั้งมีต่อพรรคการเมือง ทฤษฎีทางสังคมวิทยาเน้นว่า

                  ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งของบุคคล คือ เพศ ชาติพันธุ์ ฐานะทางชนชั้น และ
                  ภูมิลำาเนาของผู้ออกเสียงแต่ละคน ทฤษฎีตัวแบบทางสังคมวิทยาเอาผลประโยชน์ของผู้เลือกตั้งมาผนวก

                  กับการอบรมเลี้ยงดูในคราวเดียวกัน


                          3. ตัวแบบการเลือกที่มีเหตุผล (Rational-choice model) ทฤษฎีนี้ต่างจาก 2 ทฤษฎีแรก คือ
                  พุ่งความสนใจไปที่ปัจเจกบุคคลแทนที่จะเน้นการอบรมเลี้ยงดูหรือการสังกัดกลุ่มทางสังคมของบุคคล
                  การลงคะแนนของแต่ละบุคคลจึงถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่มีเหตุผลของบุคคลเป็นรายๆ ไปและทางเลือก

                  ดังกล่าวตอบสนองต่อผลประโยชน์ของแต่ละคนเป็นหลัก การลงคะแนนในทัศนะของทฤษฎีนี้จึงเป็น

                  เครื่องมือที่ผู้ออกเสียงเลือกตั้งส่งสัญญาณต่อพฤติกรรมของพรรคการเมืองในระยะเวลาที่ผ่านมา
                  นักทฤษฎีบางคนมองว่าการออกเสียงเลือกตั้งเปรียบเสมือพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค
                  ทั้งหลายนั้น คือ เลือกซื้อสินค้าที่ตอบสนองผลประโยชน์ของตนมากที่สุด พรรคการเมืองที่จะเสนอขายสินค้า

                  ของตนได้ดีที่สุด คือ พรรคที่สามารถสร้างประเด็นการเลือกตั้งได้ติดตลาดมากที่สุด จุดอ่อนที่รุนแรง

                  ที่สุดที่ทฤษฎีนี้ถูกวิจารณ์ก็คือ ทฤษฎีนี้แยกปัจเจกบุคคลได้หลุดลอยออกจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
                  ของเขาอย่างสิ้นเชิง


                          4. ตัวแบบอุดมการณ์หลัก (Dominant-ideology model) ทฤษฎีนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับทฤษฎี
                  ตัวแบบทางสังคมวิทยานั้น คือ มองว่าการลงคะแนนเสียงของบุคคลมักจะสะท้อนสถานภาพของบุคคล

                  ในโครงสร้างที่มีลำาดับชั้น แต่ทฤษฎีอุดมการณ์หลักให้ความสำาคัญแก่ทัศนคติที่บุคคลจะสร้างขึ้นจาก
                  กระบวนการของการศึกษาและสื่อสารมวลชนมากกว่าสถานะที่มาแต่กำาเนิดหรือครอบครัวและอาชีพ

                  กล่าวคือทฤษฎีนี้เน้นที่ความสำานึกทางการเมืองที่สร้างหรือปลูกได้จากการศึกษาและการให้ความสนใจ
                  ต่อการเมือง จุดอ่อนของทฤษฎีนี้ก็คือ การเหวี่ยงไปในทางตรงข้ามกับทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล

                  ในทฤษฎีอุดมการณ์หลักความสำาคัญของปัจเจกบุคคลถูกบดบังอย่างสิ้นเชิงโดยอุดมการณ์หลัก
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45