Page 41 - kpiebook63032
P. 41
40 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว
ควำมส�ำคัญของกำรเลือกตั้ง
ธโสธร ตู้ทองคำา (2545) จำาแนกความสำาคัญของการเลือกตั้ง ไว้ 2 ลักษณะ คือ
1. ความสำาคัญของการเลือกตั้งในทางทฤษฎี โดยที่ทฤษฎีการแบ่งอำานาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น
สามส่วน คือ อำานาจนิติบัญญัติ อำานาจบริหาร และอำานาจตุลาการ มีความเชื่อมโยงกับปรัชญาการเลือกตั้ง
กล่าวคือ การเลือกตั้งจะเป็นที่มาของกลไกผู้ใช้อำานาจอธิปไตยในประเทศประชาธิปไตย ในความหมายนี้
การเลือกตั้งจะเป็นที่มาของกลไกผู้ใช้อำานาจอธิปไตย ซึ่งได้มีการมอบอำานาจให้กับตัวแทนไปปฏิบัติการแทน
ตามกระบวนการและขั้นตอนที่กำาหนดไว้ การเลือกตั้งจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ลงคะแนน
เสียงได้มีส่วนร่วมทางการเมืองในการเป็นผู้ใช้อำานาจอธิปไตย ด้วยการเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปทำาหน้าที่ใน
ทางนิติบัญญัติ และมีความสัมพันธ์กับอำานาจทางฝ่ายบริหาร ความสำาคัญของการเลือกตั้งในทางทฤษฎี
ที่เป็นไปตามนัยแห่งทฤษฎีประชาธิปไตยแบบคลาสสิค (Classic democratic theory) ชี้ให้เห็นว่าการเลือกตั้ง
เป็นการเลือกรัฐบาลที่จะเข้ามาปกครอง
2. ความสำาคัญของการเลือกตั้งในทางปฏิบัติ การเลือกตั้งในทางปฏิบัตินั้น มีความสำาคัญใน
ฐานที่เป็นสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์โดยเฉพาะในสังคมประชาธิปไตย อันเห็นได้เด่นชัดจากบทบัญญัติ
เชิงบังคับ ข้อ 21(1) แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal declaration OF HUMAN RIGHT)
ซึ่งสรุปใจความสำาคัญไว้ว่า “เจตจำานงของประชาชนย่อมเป็นมูลฐานแห่งอำานาจการปกครองของรัฐบาล
เจตจำานงดังกล่าวต้องแสดงโดยการเลือกตั้งอันสุจริต ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามกำาหนดเวลา ด้วยการลง
คะแนนเสียงของชายหญิง โดยถือหลักคนละหนึ่งเสียงเท่ากัน และกระทำาเป็นการลับ ด้วยวิธีการอื่นใดที่
รับประกันได้ว่าการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจะเป็นไปโดยเสรี” ในแง่นี้การเลือกตั้งจะเป็นกระบวนการทาง
ปฏิบัติหรือขั้นตอนที่สำาคัญของประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตย (Liberal democracy) และ
ในทางปฏิบัตินี้อาจจัดแบ่งความสำาคัญของการเลือกตั้งออกเป็น 6 ประการ ประกอบด้วย
ประการแรก การเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองที่เป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำานงหรือ
ความต้องการของประชาชน ในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การเลือกตั้งจึงเป็นส่วนสำาคัญในการ
สร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นกับระบอบการเมือง
ประการที่สอง การเลือกตั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองที่มีผลต่อการจัดตั้งรัฐบาลและ
การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล โดยเป็นเครื่องมือสำาคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยสันติวิธี
ก่อให้เกิดการหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านอำานาจป้องกันการผู้กอำานาจและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ในแง่นี้
การเลือกตั้งเป็นการตัดสินใจของผู้มีสิทธิออกเสียงหรือประชาชนในรัฐอันที่จะกำาหนดรัฐบาล
ประการที่สาม การเลือกตั้งเป็นกลไกสำาคัญที่เชื่อมโยงระหว่างสถาบันทางการเมืองกับประชาชน
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าเป็นกลไกที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างส่วนบน (Super structure)
อันประกอบด้วยรัฐสภา รัฐบาลและศาล กับโครงสร้างส่วนล่าง (Infar structure) ซึ่งก็คือประชาชน โดย
ผ่านการมีส่วนร่วมทางการเมือง ดังนั้นการเลือกตั้งจึงเป็นเสียงสะท้อนถึงความคิด ความเชื่อ และทัศนคติ