Page 35 - kpiebook63032
P. 35
34 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว
8. การนับคะแนนและประกาศผลการเลือกตั้งโดยถูกต้องและเปิดเผย (Accurate counting of
choices and reporting of results) ในการเลือกตั้งที่จะเรียกได้ว่าเสรี กระบวนการลงคะแนน การนับ
คะแนนและการประกาศผลต้องดำาเนินการโดยเปิดเผยต่อสาธารณะ (แม้การขีดลงคะแนนจะเป็นความลับ
เฉพาะตัวของผู้เลือก) ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนที่ถูกต้องที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนได้รับและ
นำาไปสู่การประกาศผลที่ถูกต้องว่าใครคือผู้ชนะการเลือกตั้งหรือเป็นผู้ได้รับเลือก
หน้ำที่ของกำรเลือกตั้ง
สมเกียรติ วันทะนะ (2558) อธิบายหน้าที่ของการเลือกตั้งว่า การเลือกตั้งเป็นเงื่อนไขที่จำาเป็น
(Necessary condition) สำาหรับการดำารงอยู่ของประชาธิปไตย แม้จะไม่ใช่เงื่อนไขทีเพียงพอ (Sufficient
condition) ก็ตาม ความหมายของประโยคนี้คือลำาพังเพียงการเลือกตั้งมิได้เป็นหลักประกันว่าจะต้อง
มีประชาธิปไตย (เพราะประชาธิปไตยต้องการองค์ประกอบหลายอย่างหรือมากกว่าการเลือกตั้งเพียง
อย่างเดียว) แต่ถ้าขาดการเลือกตั้งเสียแล้ว เราก็ไม่จำาเป็นต้องพูดถึงประชาธิปไตยอีกต่อไป (การเลือกตั้ง
เป็นองค์ประกอบที่จำาเป็นสำาหรับประชาธิปไตย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ขาดมิได้)
ในโลกสมัยใหม่โจเซฟ จุมปีเตอร์ (Schumpeter, 1883-1950) ผู้เขียนหนังสือ Capitalism,
Socialism and Democracy (1942) ให้ความสำาคัญกับการเลือกตั้งอย่างยิ่ง โดยถือเป็นหัวใจของระบอบ
ประชาธิปไตยทีเดียว แต่การเลือกตั้งมีความแตกต่างกันอย่างมากในตัวของมันเอง ดังนั้นจึงเป็นการยาก
ลำาบากที่จะสรุปว่า การเลือกตั้งเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องมือของประชาธิปไตยแต่อย่างเดียว ในทางปฏิบัติ
เราอาจจำาแนกหน้าที่ (Functions) ของการเลือกตั้งได้ดังนี้ (Heywood, 2013)
1. บรรจุนักการเมืองเข้าดำารงตำาแหน่ง (Recruiting politicians) ในรัฐที่เป็นประชาธิปไตย
ตำาแหน่งสำาคัญๆ ของระบอบการเมือง (ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร) ต้องให้ผู้ผ่านการเลือกตั้ง
เข้าดำารงตำาแหน่ง เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังหน้าที่ดังกล่าวของการเลือกตั้งก็คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ทั้งปวงเป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตย ดังนั้น พวกเขาจึงต้องเป็นคนตัดสินใจว่าใครมีความเหมาะสมที่จะ
เข้าไปทำาหน้าที่ด้วยการดำารงตำาแหน่งเหล่านั้น วิธีการที่ดีที่สุดก็คือการเลือกตั้ง ตำาแหน่งที่ต้องการมาจาก
การเลือกตั้งจึงมักเป็นตำาแหน่งที่เกี่ยวกับนโยบายในการปกครองประเทศอย่างกว้างๆ และด้วยเหตุผลนี้
ประเทศต่างๆ จะไม่ใช้การเลือกตั้งกับตำาแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ข้าราชการ
พลเรือนและตุลาการ เป็นต้น
2. จัดตั้งรัฐบาล (Making governments) การเลือกตั้งในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
ซึ่งผู้บริหารหรือประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง การเลือกตั้งดังกล่าวจึงเป็นกลไก
ในการตัดตั้งรัฐบาลในคราวเดียวกัน แต่ในประเทศอื่นๆ ที่ใช่ระบบรัฐสภา การเลือกตั้งก็เป็นกลไกในการจัดตั้ง
รัฐบาลเหมือนกัน แต่เป็นการจัดตั้งรัฐบาลทางอ้อม กล่าวคือผู้ที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่ในรัฐสภาจะได้
เป็นผู้นำาฝ่ายบริหารหรือที่เรียกกันว่าเป็นรัฐบาล ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นระบบใด ถ้าหากเป็นรัฐบาลที่เป็น