Page 33 - kpiebook63032
P. 33

32       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดสระแก้ว








                      เชาวณะ ไตรมาส (2545) กล่าวว่าการเลือกตั้ง คือ การแข่งขันทางอำานาจเพื่อเข้าไปสู่อำานาจ

             และการใช้อำานาจทางการเมือง โดยอาศัยกลไกกระบวนการของการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการใช้
             หลักประกันเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นการแข่งขันเข้าสู่อำานาจอย่างสุจริตเที่ยงธรรม โดยคาดหวังหรือผลลัพธ์

             จากการเลือกตั้งว่าสามารถสะท้อนถึงเจตนารมณ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด


                      อัษฎางค์ ปาณิกบุตร (2548) กล่าวว่าการเลือกตั้ง คือ จุดเริ่มต้นของกระบวนการประชาธิปไตย
             ซึ่งจะนำาไปสู่กระบวนการประชาธิปไตยอื่นๆ ไม่ว่าการเลือกรัฐบาลหรือฝ่ายบริหาร การออกกฎหมาย
             โดยฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ฯลฯ การเลือกตั้งเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำาให้คนส่วนใหญ่

             ของประเทศได้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศเป็นการมอบอำานาจอธิปไตยของราษฎร แต่ละคนให้

             ผู้แทนของตนนำาไปใช้ในการปกครองประเทศ เนื่องจากเราไม่สามารถให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วม
             ในการปกครองประเทศได้จึงคิดค้นวิธีการขึ้นมาเรียกว่า การเลือกตั้ง


                      วัชรา ไชยสาร (2541) กล่าวว่า การเลือกตั้ง คือ กิจกรรมทางการเมืองที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของ
             อำานาจอธิปไตยได้มีส่วนร่วมทางการเมือง (Participation) อันเป็นกลไกที่แสดงออกซึ่งเจตจำานงของ

             ประชาชนที่เรียกร้อง หรือสนับสนุนให้มีการกระทำาหรือการละเว้นการกระทำาอย่างใดอย่างหนึ่งในทางการเมือง

             หรือตัดสินใจในนโยบายสาธารณะที่จะมีผลกระทบต่อประชาชน โดยประชาชนทั่วไปเลือกผู้แทนหรือ
             พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์นโยบาย และวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับตนด้วยความคาดหวังว่าผู้แทนหรือ
             พรรคการเมืองที่ตนเลือกให้ไปใช้อำานาจอธิปไตยแทนตนนั้นจะนำาอุดมการณ์และนโยบายในการบริหาร

             ประเทศและทำาหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเอง การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการแสวงหาทางเลือก

             ในการเมืองการปกครองของประชาชน



                     ลักษณะของกำรเลือกตั้งที่เสรี


                      สมเกียรติ วันทะนะ (2558) อธิบายไว้ว่า การเลือกตั้งที่ถือว่าเป็นอิสระหรือมีเสรีได้ (Free

             elections) นักรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องมีลักษณะ 8 ประการดังต่อไปนี้


                      1. เป็นการเลือกตั้งที่จัดขึ้นอย่างสมำ่าเสมอ (Regular election) หมายความว่า การเลือกตั้ง
             มีกรอบระยะเวลาชัดเจนและสมำ่าเสมอ เช่น ทุกๆ 4 ปี เป็นต้น เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถเลื่อนหรืองด
             การเลือกตั้งได้ตามอำาเภอใจของตน พิจารณาในแง่นี้แล้วการรัฐประหารหรือการยึดอำานาจการปกครอง

             โดยคณะทหารที่ปรากฏในประเทศด้อยพัฒนาทางการเมืองทั้งหลายจึงเป็นการทำาลายหลักเกณฑ์พื้นฐาน

             ที่สำาคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตยโดยปริยาย

                      2. การเลือกตั้งที่มีความหมาย (Meaningful choices) ในการเลือกตั้งที่ถือว่าเสรีนั้น ผู้มีสิทธิ

             ออกเสียงเลือกตั้ง (Voters) ต้องมีตัวเลือกอย่างแท้จริง เช่น มีผู้รับสมัครรับเลือกตั้งมากกว่า 2 คน ให้เลือก
             ในตำาแหน่งแต่ละตำาแหน่งที่ต้องการ ในประเทศรัสเซียที่เป็นสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1917-1989) รัฐจัดให้มี
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38