Page 47 - kpiebook63031
P. 47

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           46       จังหวัดอุบลราชธานี







                      จะเห็นได้ว่าในการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ ผู้อุปถัมภ์มีส่วนได้เปรียบอยู่

             ในเนื้อแท้ของความสัมพันธ์ (คือมีฐานอำานาจในการต่อรองสูงกว่า) ทั้งนี้เพราะผู้อุปถัมภ์จะเป็นหนึ่งใน
             ไม่กี่คนที่มีทรัพยากรมากเพียงพอที่จะจ่ายให้ลูกน้องจนพอใจได้ ดังนั้นผู้อุปถัมภ์จึงเป็นผู้เลือกว่าจะให้

             การอุปถัมภ์แก่ใครและเป็นผู้กำาหนดว่าผู้รับอุปถัมภ์ควรให้บริการอะไรแก่ตน

                      การที่ผู้อุปถัมภ์จะได้เปรียบมากน้อยเพียงไร หรือผู้รับการอุปถัมภ์จะถูกเอาเปรียบมากน้อย

             เพียงไร ย่อมขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของสิ่งของที่ผู้รับอุปถัมภ์ประสงค์ประการหนึ่ง และอุปสงค์
             อุปทานของสิ่งที่ผู้อุปถัมภ์ต้องการจากผู้รับอุปถัมภ์ประการหนึ่ง เช่น ถ้าหากมีแหล่งเงินกู้มากมายและ

             มีเงินกู้เพียงพอ ในความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ระหว่างเจ้าของเงินกู้กับลูกหนี้ ผู้รับอุปถัมภ์ก็จะได้รับ
             การปฏิบัติอย่างดีจากผู้อุปถัมภ์ (เพื่อดึงดูดผู้รับอุปถัมภ์ไว้) หรือกรณีการเลือกตั้งผู้รับอุปถัมภ์อาจได้รับ

             การปฏิบัติต่ออย่างดี เพราะคะแนนเสียงของเขามีความสำาคัญต่อผู้อุปถัมภ์ เป็นต้น

                      โดยทั่วไปจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่นไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับ

             การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะหลังๆ ได้ ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ตามความหมายในอุดมคติคือ
             การที่ผู้อุปถัมภ์คอยปกป้องคำ้าจุนผู้รับอุปถัมภ์ ผู้รับอุปถัมภ์ก็จะทำางานรับใช้ให้บริการแก่ผู้อุปถัมภ์เป็น

             การแสดงความกตัญญู คำาสามัญใช้เรียกผู้อุปถัมภ์ (patron) และผู้รับอุปถัมภ์ (client) ก็เป็นคำาในระบบ
             ครอบครัว คือ “ลูกพี่” และ “ลูกน้อง” ดังนั้น บทบาทในอุดมคติของผู้อุปถัมภ์ (patron) กับผู้รับอุปถัมภ์

             (client) ก็คือ บทบาทของบิดากับบุตร หรือพี่กับน้องนั่นเอง

                      โดยคำาจำากัดความตามระบบอุปถัมภ์ ผู้ได้ประโยชน์มากคือผู้อุปถัมภ์ แต่ผู้อุปถัมภ์จะต้อง

             รับผิดชอบต่อการกินดีอยู่ดีของผู้รับอุปถัมภ์ด้วย กฎแห่งศีลธรรมของระบบอุปถัมภ์คือ การตอบแทน
             ซึ่งกันและกันเป็นหลักสำาคัญ แต่ปัจจุบันนี้การเอารัดเอาเปรียบผู้ที่อยู่ในฐานะที่ด้อยกว่ามีมากขึ้น

             ผลที่จะเกิดตามมาก็อาจเป็นการรวมตัวของชนชั้นผู้รับอุปถัมภ์เพื่อช่วยเหลือตนเอง ซึ่งมีลักษณะของ
             การเกิดชั้นทางสังคม




                      3.1 ลักษณะของควำมสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์

                      หากเราต้องการที่จะวิเคราะห์โครงสร้างที่ใหญ่กว่าสายสัมพันธ์เพียงสายเดียวระหว่างผู้อุปถัมภ์

             และผู้รับอุปถัมภ์ซึ่งรวมเอาสายสัมพันธ์เช่นที่กล่าวข้างต้นหลายสายด้วยแล้ว จะต้องพิจารณาคำาศัพท์
             สองคำาที่สำาคัญ (เจมส์ ซี สกอตต์, 2545, น. 57-58)


                      ประการแรกเมื่อเราพูดถึงผู้ติดตามที่ใกล้ชิดของผู้อุปถัมภ์ในลักษณะของผู้รับอุปถัมภ์ที่ผูกพัน
             กับเขาโดยตรง เราจะเรียกว่าผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์แบบกลุ่ม (patron-client cluster)


                      ส่วนคำาศัพท์ที่สองขยายขนาดเพิ่มจากกลุ่ม (cluster) แต่ยังคงมีศูนย์กลางอยู่ที่บุคคลเดียวและ
             มีสายสัมพันธ์ตามแนวตั้งเรียกว่า ผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์แบบปิรามิด (patron – client pyramid)

             ลักษณะของทั้งสองแบบอาจแสดงได้ดังนี้
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52