Page 49 - kpiebook63031
P. 49

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           48       จังหวัดอุบลราชธานี







                      2.  การปกครองตนเองของผู้นำา ผู้อุปถัมภ์มีสิทธิ์ในการปกครองตนเองสูงในการเลือกพันธมิตร

                          และการตัดสินใจในเรื่องของนโยบายนานตราบเท่าที่เขาสามารถสนองตอบความต้องการ
                          พื้นฐานของผู้รับอุปถัมภ์ของตน ในขณะที่ผู้นำาของกลุ่มแยกประเภทจะต้องยอมรับ

                          ผลประโยชน์รวมของกลุ่มที่เขาเป็นผู้นำาเป็นสำาคัญ

                      3.  เสถียรภาพของกลุ่ม กลุ่มผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ (patron-client cluster) มีพื้นฐานอยู่ที่

                          สายสัมพันธ์ในแนวตั้งที่เปิดเฉพาะของกลุ่มนั้นๆ และที่สำาคัญขึ้นอยู่กับความสามารถ
                          ของผู้นำาที่จะทำาให้เกิดการขยายตัว หรือสลายตัวที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรที่เขามีอยู่ และ

                          ขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะสนองตอบต่อข้อเรียกร้องของผู้อุปถัมภ์ได้ ในทางตรงข้ามกลุ่ม
                          แยกประเภท (categorical group) มีพื้นฐานอยู่ที่คุณสมบัติร่วมกันของสมาชิกตามแนวนอน

                          เพราะฉะนั้น การคงอยู่ของกลุ่มจึงไม่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของหัวหน้า และจะยังคงขึ้นอยู่กับ
                          กิจกรรมหรือผลประโยชน์ (บ่อยครั้งในเรื่องนโยบาย) ร่วมกันของสมาชิก


                      4.  ส่วนประกอบของกลุ่ม กลุ่มผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์พิจารณาจากการกำาเนิดของกลุ่ม
                          จะมีแนวโน้มที่มีลักษณะหลากหลายจากชั้นทางสังคมที่เข้าร่วมในกลุ่มมากกว่ากลุ่มแยก

                          ประเภท ซึ่งการเกิดขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะที่สมาชิกมีร่วมกันอยู่ โดยคำาจำากัดความ
                          ผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์แบบปิรามิด จะรวมเอาคนที่มีความแตกต่างในการจัดฐานะตำาแหน่ง

                          ในขณะที่กลุ่มแยกประเภทอาจจะเป็นหรือไม่เป็นกลุ่มของคนที่มีสถานภาพที่เป็นอันหนึ่ง
                          อันเดียวกัน (homogeneous in status)


                      5.  การร่วมมือของกลุ่ม ในความเป็นจริงกลุ่มผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ (patron-client cluster)
                          ไม่ใช่กลุ่ม (group) ที่แท้จริง ซึ่งเราอาจเรียกได้ว่าเป็น “ชุดกิจกรรม” (action set) ที่รวมกัน

                          อยู่ได้เพราะความสัมพันธ์ในแนวตั้งกับหัวหน้าเท่านั้น สายสัมพันธ์ที่หัวหน้าทำาให้เกิดขึ้น
                          ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ บริวารหรือผู้ติดตาม (followers) จะไม่มีความสัมพันธ์โดยตรง

                          ต่อกันและกัน และโดยแท้จริงแล้วอาจจะไม่รู้จักกันเลย ในทางตรงข้ามในกลุ่มแยกประเภท
                          สมาชิกมักจะเชื่อมโยงกันตามแนวนอนกับระดับที่เราจะเรียกว่ากลุ่ม (group) ที่เป็นอิสระ

                          จากหัวหน้า




                      3.2 ประเภทของระบบอุปถัมภ์


                      อาจแยกความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามคำานิยามของสังคมในการที่ผู้รับ
             อุปถัมภ์จะยอมรับฐานะที่ด้อยกว่าของตนภายใต้ระบบบิดาอุปถัมภ์(patrimonial) และความสัมพันธ์อีก

             แบบหนึ่งที่มีลักษณะของการใช้อำานาจกดขี่โดยผู้ที่มีอำานาจอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
             การเมืองที่ทำาให้การยอมรับสิทธิของการใช้อำานาจอย่างชอบธรรมตามประเพณีลดลง (แอนโทนี่ ฮอลล์,

             2545, น. 30-33)
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54