Page 50 - kpiebook63031
P. 50

49








                          1. ระบบบิดำอุปถัมภ์ ผู้อุปถัมภ์จะทำาหน้าที่คล้ายๆ ครอบครัวขยาย ที่หัวหน้าครอบครัวจะเป็น

                              ผู้รับผิดชอบในสวัสดิการของผู้ที่อยู่ใต้อำานาจตน ซึ่งรวมทั้งครอบครัวของข้าทาสและ
                              แรงงานอิสระ ในสถานการณ์นี้ รัฐบาลกลางไม่เข้มแข็งและชุมชนอยู่ค่อนข้างจะโดดเดี่ยว

                              ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ในลักษณะนี้จึงเป็นทางเลือกของชาวไร่ชาวนาที่ต้องการ
                              การคุ้มครองจากผู้อุปถัมภ์ที่มีอำานาจ ซึ่งในทำานองเดียวกัน ผู้ที่สามารถปกป้องคุ้มครอง

                              ชาวไร่ชาวนาย่อมจะได้รับการยอมรับและสนับสนุนทางการเมืองจากผู้รับอุปถัมภ์นั่นเอง
                              ในสังคมปัจจุบัน ประชากรอาจยังต้องพึ่งพาผู้อุปถัมภ์โดยมีค่านิยมบางอย่างเป็นตัวสนับสนุน

                              โอกาสที่ผู้มีอำานาจจะกดขี่เบียดบังย่อมเป็นไปได้ ตราบเท่าที่ระบบอุปถัมภ์ยังคงช่วยให้
                              ชาวไร่ชาวนาดำารงชีวิตอยู่ได้ ชาวไร่ชาวนาจะหันเข้าหาผู้อุปถัมภ์


                          2.  ระบบกำรใช้อ�ำนำจกดขี่ เป็นลักษณะที่ผู้อุปถัมภ์ หรือเจ้าที่นาได้หันมาใช้วิธีการกดขี่ควบคุม

                              ผู้รับอุปถัมภ์มากขึ้น การข่มขู่ และความรุนแรง และแม้กระทั่งการฆาตกรรม เป็นเรื่องปกติ
                              ธรรมดา การยอมรับในสิทธิและการเชื่อฟังเจ้าที่นาในช่วงบิดาอุปถัมภ์ได้รับการท้าทาย

                              ในรูปของการต่อต้านไม่พอใจ และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม นอกจากนี้
                              การผูกขาดที่ดินของชนชั้นนายทุนใหม่ และการที่ชาวไร่ชาวนาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับ

                              การตลาดสมัยใหม่มีผลในทางทำาลายความชอบธรรมของผู้อุปถัมภ์แบบประเพณีที่เคยมี
                              และได้สร้างความรู้สึกในหมู่ชาวไร่ชาวนาว่าถูกกดขี่ อันนำาไปสู่การลุกฮือก่อความไม่สงบขึ้น






                          3.3 ระบบอุปถัมภ์ในวงกว้ำง


                          อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ขยายขอบเขตกว้างไกลกว่าที่จะ
                  จำากัดอยู่เฉพาะในชุมชนหรือในชนบทเท่านั้น ระบบอุปถัมภ์ยังมีความสำาคัญในการช่วยเชื่อมโยงโครงสร้าง

                  อำานาจระหว่างชนบทและเมือง และเป็นลู่ทางของการแสวงหาผลประโยชน์


                          ใน “สังคมที่ก�ำลังพัฒนำ” เส้นสายของความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์สามารถ
                  เชื่อมโยงบุคคลที่มีสถานภาพตำ่าไปจนถึงบุคคลระดับชาติ โดยไม่จำาเป็นต้องผูกติดอยู่กับระบบราชการที่

                  ค่อนข้างเข้มงวดเกินไป ในขั้นต้นของการพัฒนาอุตสาหกรรม ผู้อุปถัมภ์ตามประเพณีอาจสามารถช่วยเหลือ
                  ผู้รับอุปถัมภ์ของตนในการติดต่อกับระบบราชการ ทั้งนี้ โดยเหตุที่เจ้าที่ดิน(ผู้อุปถัมภ์) มีความสามารถ

                  ที่จะติดต่อกับเจ้าหน้าที่ซึ่งมีฐานะเท่าเทียมกันหรืออาจเป็นเพราะตนเองเป็นผู้รับอุปถัมภ์ของผู้อุปถัมภ์
                  ที่มีอำานาจมากกว่าต่อๆ กันไปจนถึงระดับชาติ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดแล้ว ผู้อุปถัมภ์ตามประเพณีที่มี

                  บทบาทในหลายๆ ด้าน (เช่นทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง) จะถูกแทนที่โดยผู้อุปถัมภ์ที่มีอำานาจเฉพาะ
                  ด้านและจำากัดอยู่เฉพาะในระบบราชการ หรือองค์การต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และครู เป็นต้น

                  (แอนโทนี่ ฮอลล์, 2545, น. 33-34)
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55