Page 46 - kpiebook63031
P. 46

45








                  คบหากัน และมีผลประโยชน์ให้กันและกัน ไม่เหมือนแบบแผนของลักษณะของครอบครัวขยายของไทย

                  ความสัมพันธ์ในระบบเจ้านาย ไม่เพียงแต่มีความสัมพันธ์ในระเบียบ กฎเกณฑ์ งานเท่านั้น แต่ยังได้รับ
                  การคาดหวังจากคนภายนอกที่จะได้รับความสัมพันธ์ เช่น ในระบบราชการ และหวังว่าจะได้รับความเอื้อเฟื้อ

                  จากผู้อุปถัมภ์ เมื่อผู้อุปถัมภ์ต้องการจะช่วยผู้ใต้อุปถัมภ์ของเขา คนในส่วนอื่นก็จะถูกลืมไม่ได้รับการดูแล



                          ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ มองว่า ระบบอุปถัมภ์เป็นผลมาจากความเชื่อของคนไทยในเรื่องบุญกรรม

                  และเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ เช่น ความเชื่อที่ว่าผู้ที่เกิดมาท่ามกลางเงินทองมีทรัพย์สิน อำานาจ วาสนา เป็นเพราะ
                  กรรมที่ทำาไว้แต่ปางก่อน คนเราเกิดมาไม่เท่าเทียมกันด้วยเหตุที่บุญบารมีที่ได้สะสมไว้แต่ปางก่อน

                  แตกต่างกัน ทำาให้คนไทยยอมรับความแตกต่างในฐานะตำาแหน่งที่ลดหลั่นเป็นชั้นๆ ว่าเป็นสิ่งที่เป็น
                  ธรรมชาติและธรรมดา และยึดถือความแตกต่างเป็นหลักสูงตำ่าของฐานะตำาแหน่งในการจัดระเบียบทางสังคม


                          เมื่อมีการยึดถือความแตกต่างในระดับสูง-ตำ่าของฐานตำาแหน่งเป็นหลัก เราจึงพบว่า ความสัมพันธ์

                  ระหว่างบุคคลที่แตกต่างกันในฐานะตำาแหน่งเป็นแบบที่มีความสำาคัญยิ่งในการจัดระเบียบทางสังคม
                  ในด้านพฤติกรรมความสัมพันธ์ที่สำาคัญและเห็นได้ง่ายก็คือ ความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่ - ผู้น้อย หรือ

                  ความสัมพันธ์แบบลูกพี่ - ลูกน้อง ความสำาคัญแบบดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง
                  ความไม่เสมอภาคในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจการเมืองหรือ

                  สังคมก็ตาม ซึ่งความสัมพันธ์ในลักษณะนี้เองที่เราเรียกว่า ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์


                          ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์เป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีทรัพยากร
                  ต่างกัน ทรัพยากรในที่นี้ไม่ได้หมายถึงทรัพย์สินแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงอย่างอื่นๆ ซึ่งอาจเป็น

                  อำานาจทางการเมือง สิทธิพิเศษทางสังคม เป็นต้น


                          ผู้อุปถัมภ์อยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพยากรที่มีอยู่จำากัด และเป็นที่ต้องการของผู้รับอุปถัมภ์
                  ผู้รับอุปถัมภ์มักจะทราบว่าในการเข้าเป็นผู้รับอุปถัมภ์หรือเป็นลูกน้องของใคร ตนต้องการอะไร เช่น

                  การคุ้มครองทางการเมืองหรือทางสังคม หรือความก้าวหน้าในตำาแหน่งหน้าที่การงาน หรือฐานะทาง
                  เศรษฐกิจ การที่ผู้รับอุปถัมภ์ทราบก็โดยเหตุที่ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ตนต้องการและมักจะเป็นสิ่งที่น้อยคน

                  จะสามารถให้แก่ตนได้ แต่ผู้รับอุปถัมภ์จะไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่ชัดเลยว่า ผู้อุปถัมภ์จะให้ตนหรือไม่และ
                  เพียงใด นอกจากนั้นแล้ว ผู้รับอุปถัมภ์ซึ่งเรียกว่า “ลูกน้อง” จะไม่ทราบแน่ชัดว่า ผู้อุปถัมภ์ซึ่งเรามักเรียกว่า

                  “เจ้านาย” หรือ “ลูกพี่” หรือ “เฮีย” จะต้องการให้ตนทำาอะไรให้บ้าง เพื่อที่ตนจะได้ในสิ่งที่ตนประสงค์
                  เช่น ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่สร้างความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์กับผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ได้รับความก้าวหน้า

                  ในตำาแหน่งหน้าที่เป็นพิเศษ อาจจะต้องทำาอะไรมากกว่าหน้าที่ในการงาน เช่น อาจเข้าไปรับใช้งาน
                  ในบ้านของเจ้านายและอื่นๆ อีก เป็นต้น หรือลูกไร่ลูกนากับเจ้าของที่ดินแบบอุปถัมภ์อาจต้องสนับสนุน

                  ลูกพี่เจ้าของที่ดินในทางการเมือง เช่น ลงคะแนนเสียงเลือกกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยหาเสียงให้ หรืออาจ
                  ถึงขนาดต้องกำาจัดศัตรูคู่แข่งของผู้อุปถัมภ์ก็ได้
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51