Page 42 - kpiebook63031
P. 42
41
5. มนุษย์ต้องการมีอำานาจเหนือบุคคลอื่น โดยผ่านช่องทางการเมือง (political channels)
6. มนุษย์หาทางรักษาไว้ซึ่งความภูมิใจในตัวเอง (self-esteem) และพยายามปรับปรุงให้มี
มากขึ้น (ความต้องการในด้านสถานภาพ ชื่อเสียง และความเคารพ) โดยผ่านกิจกรรมทาง
การเมือง (political activities)
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า สมาชิกของระบบการเมืองแต่ละแห่งต่างก็พยายามแสวงหาอำานาจ
ทางการเมือง เพื่อจะได้มีอิทธิพลเหนือนโยบายและการตัดสินใจของรัฐบาล โดย Dahl ตั้งข้อสังเกตว่า
อิทธิพลทางการเมืองถูกแจกแจงโดยไม่เท่าเทียมกันในบรรดาสมาชิกของระบบการเมือง ดังนั้น
การแสวงหาอำานาจและการที่จะมีอำานาจนั้นย่อมจะมีวิธีการที่ไม่เหมือนกัน ผู้แสวงหาอำานาจบางคน
อาจจะไม่ประสบความสำาเร็จ ถึงแม้เขาจะได้ใช้ความพยายามแล้วก็ตาม แต่บางคนที่มีอำานาจอยู่ในมือแล้ว
อาจจะไม่แสวงหาอำานาจ เนื่องจากคนเหล่านี้มีอำานาจโดย “การสืบทอดจากบรรพบุรุษ” ปัญหาสำาคัญ
อยู่ที่ว่า
1. เหตุใดคนบางคน จึงแสวงหาอำานาจมากกว่าคนอื่นๆ
2. เหตุใดคนบางคน จึงได้รับอำานาจมากกว่าคนอื่นๆ (Dahl, 1975, p.86)
Lasswell กล่าวว่า ผู้แสวงหาอำานาจจะเสาะแสวงหรือเพิ่มพูนอำานาจ เพื่อทดแทนการ
ขาดตกบกพร่องในวัยเยาว์ เช่น โอกาสในการศึกษา ความรักของพ่อแม่ และสิ่งที่สำาคัญที่สุด คือ ความรัก
และความเคารพในตัวเอง ในบรรดานักการเมือง ปมด้อยเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในวัยเยาว์ ซึ่งโตพอที่จะ
รับทราบลักษณะความแตกต่างในสังคม เป็นลักษณะที่ความเชื่อมั่นในตนเองถูกทำาลายอย่างสิ้นเชิง
สิ่งเหล่านี้ทำาให้บุคคลนั้นมีปมด้อย หากบุคคลใดรู้จักคำาว่า ลำาเอียงในปฐมวัย จะสร้างบุคลิกภาพที่เลว
ในอนาคตได้
คนที่มีปมด้อยจะพยายามแสดงออกเพื่อปกปิดปมด้อยของตน นักการเมืองที่ประสบความสำาเร็จ
มักจะมีสมองปานกลางไม่เด่นในระยะต้นๆ แต่อาจจะเด่นในระดับอุดมศึกษา พวกนี้เชื่อว่า อำานาจเป็น
สิ่งเดียวที่จะสร้างสถานภาพของตนที่รู้สึกตำ่าในวัยเด็กให้สูงขึ้น จะนำามาซึ่งความรัก ความเคารพ และ
อำานาจจะสามารถเปลี่ยนทัศนคติของบุคคลอื่นๆ ที่มีต่อตัวเขาได้ พวกแสวงหาอำานาจแบบจิตใต้สำานึกนี้
จะใช้อำานาจที่ตนได้รับมากับสถาบันอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกว่า ศักดิ์ศรีของตนได้ถูกพัฒนาและ
ส่งเสริม (Lasswell, 1948, p.93)
สิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องโดยใกล้ชิดกับฐานะและตำาแหน่ง คือ เกียรติยศ (prestige) และอำานาจ (power)
ความต้องการที่จะได้มีชื่อเสียง ก็คือความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเหนือคนอื่น ความต้องการที่จะได้มีอำานาจ
ก็คล้ายคลึงกัน แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว มีบางคนที่หลีกเลี่ยงไม่ใส่ใจกับความมีชื่อเสียง แต่ทะเยอทะยาน