Page 39 - kpiebook63031
P. 39
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
38 จังหวัดอุบลราชธานี
มีนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศได้เข้ามาศึกษาอีสานในช่วงหลังทศวรรษ 2500 เป็นจำานวน
มาก โดยนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับอีสานในช่วง พ.ศ. 2500-2520 มักจะมุ่งตอบคำาถามเกี่ยวกับพฤติกรรม
ทางการเมืองที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการต่อต้านรัฐบาลกลางในสมัยนั้น แนวคิดที่ใช้ในการอธิบายในงาน
เหล่านี้มองว่า เป็นเพราะลักษณะของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดพลังต่างๆ
อันเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลกลาง และยังได้อธิบายถึงปัจจัยอื่นๆ ที่สำาคัญมี 3 แนวทาง คือ (ดารารัตน์
เมตตาริกานนท์, 2546, น. 3-18)
1.1 กลุ่มแนวคิดที่ศึกษำทำงด้ำนชำติพันธุ์
กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นนักมานุษยวิทยาที่ได้เข้ามาศึกษาภาคอีสาน และมีกรอบแนวคิดในการอธิบายว่า
ปัญหาทางด้านชาติพันธุ์เป็นปัจจัยที่สำาคัญประการหนึ่งที่สร้างความยุ่งยากให้แก่รัฐบาลไทย โดยมองว่า
คนในภาคอีสานมีลักษณะแตกต่างจากคนในภาคกลาง และมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนลาวในประเทศลาว
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางด้านชาติพันธุ์ของคนลาวและคนอีสานนี้ อาจก่อให้เกิดความพยายามที่
จะแบ่งแยกภาคอีสาน งานที่สำาคัญในกลุ่มแนวคิดนี้ คือ งานของ คายส์ (Charles F. Keyes) เรื่อง “Ethnic
Identity and Loyalty of Villagers in Northeastern” (1966) และเรื่อง “Isan : Regionalism in Northeastern
Thailand” (1967) ซึ่งถือว่าเป็นงานบุกเบิกและยังกระตุ้นให้มีการศึกษาทางด้านการเมืองที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่ง
เกี่ยวกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้ ยังมีงานของเมอร์ดอช (John B. Murdoch) “The 1901-1902 Holy Man’S Rebellion”
(1974) ซึ่งได้มุ่งประเด็นไปที่การศึกษาเกี่ยวกับกบฏผู้มีบุญในภาคอีสาน ในช่วง ค.ศ.1901-1902
ส่วนประเด็นสำาคัญของการเกิดเหตุการณ์นี้ เมอร์ดอชอธิบายว่า เป็นปฏิกิริยาทางด้านชาติพันธุ์ของชน
กลุ่มน้อยในท้องถิ่นที่ตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ของการขยายอำานาจทางการเมืองและการปกครองของ
อำานาจรัฐที่ขนาบข้าง คือ ฝรั่งเศสและไทย ซึ่งมีผลสั่นคลอนต่อระบบเศรษฐกิจและโครงสร้างผู้นำาแบบเดิม
ที่เคยเป็นอิสระในดินแดนแถบนี้ สำาหรับการศึกษาเกี่ยวกับกบฏผู้มีบุญอีสานนี้ ในช่วงหลัง พ.ศ. 2519
ได้มีงานที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้จำานวนมาก แต่มีจุดเน้นที่แตกต่างกัน
1.2 กลุ่มแนวคิดที่ศึกษำเกี่ยวกับเศรษฐกิจของภำคอีสำน
เพื่อใช้เป็นกรอบในการอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคอีสาน โดยในงานต่างๆ เหล่านี้มองว่า
ความยากจนประกอบกับการถูกทอดทิ้งจากส่วนกลางเป็นสาเหตุสำาคัญที่ทำาให้ภาคอีสานอยู่ในสภาพ
ที่พร้อมจะถูกแทรกซึมจากพลังต่างๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฝ่ายรัฐบาลได้ง่าย และด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้
จึงมีนักวิชาการเข้ามาศึกษาสภาพเศรษฐกิจของภาคอีสาน อันได้แก่ มิลลาร์ด เอฟ ลอง เรื่องพัฒนาการ
ทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาและอนาคต (1966) เบลล์ (Peter F.Bell) เรื่อง “Note
and Comments on Thailand’s North East : Regional Underdevelopment, “Insurgency” and Official
Respone” (1969) และงานของ Marian R. Meinkoth เรื่อง “Migration in Thailand with Particular
Reference to the Northeast” (1962) ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ที่ย้ายถิ่นของชาวนา
จากจังหวัดต่างๆ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยในระหว่าง พ.ศ. 2500 เป็นต้น