Page 34 - kpiebook63031
P. 34

33








                  4. วิธีกำรศึกษำวิจัย


                          ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือสำาคัญ ได้แก่


                          4.1 ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง


                          ศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรอบของกฎหมาย เช่น ขั้นตอนการเลือกตั้งตาม
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง

                  พ.ศ. 2560 อำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
                  คณะกรรมการการเลือกตั้ง และบทบาทของพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

                  พรรคการเมือง พ.ศ. 2560


                          ข้อมูลเชิงพื้นที่ในจังหวัดอุบลราชธานี เช่น ข้อมูลประชากร ข้อมูลพรรคการเมืองที่มีผู้สมัคร
                  รับเลือกตั้งในจังหวัดอุบลราชธานีทั้งในการเลือกตั้งปัจจุบัน และการเลือกตั้งในอดีต และข้อมูลประวัติ

                  ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อมความเป็นเครือญาติ หรือเครือข่ายของนักการเมืองเก่า ทั้งในระดับชาติและ
                  ระดับท้องถิ่น และผลการเลือกตั้งย้อนหลัง 3 ครั้งในเขตจังหวัดอุบลราชธานี


                          4.2 การสัมภาษณ์อย่างเจาะลึกในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง


                          โดยมีการลงพื้นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งพรรคสำาคัญ ตัวแทนของ

                  กลุ่มการเมืองต่างๆ รองหัวหน้าพรรคการเมืองที่อยู่ในพื้นที่ นายอำาเภอ ผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการที่ศึกษา
                  ในประเด็นการเมืองจังหวัดอุบลราชธานีที่เกี่ยวข้อง ผู้นำาภาคประชาสังคม สื่อมวลชนในพื้นที่ กลุ่มแกนนำา

                  ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น


                          4.3 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม

                          โดยเป็นการสังเกต บันทึก การหาเสียงเลือกตั้ง การขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงของพรรคการเมือง

                  และผู้สมัครกลุ่มต่างๆ และวิเคราะห์บรรยากาศทั่วไป พฤติกรรมทางการเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

                  บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำาชุมชน ผู้นำาท้องที่ กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน
                  ผู้นำาภาคประชาสังคม ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พฤติกรรม
                  ทางการเมืองของประชาชน ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ช่วงการเลือกตั้ง และช่วยหลังจากการเลือกตั้ง

                  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39