Page 32 - kpiebook63031
P. 32

31








                          3.4 ขอบเขตเนื้อหำ


                          1) พฤติกรรมกำรเลือกตั้ง


                          เป็นการศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ในทุกประเด็น เช่น การเลือกตั้งในครั้งนี้มีความเหมือน
                  หรือแตกต่างจากการเลือกตั้งที่เคยผ่านมาในพื้นที่หรือไม่ มีประเด็นใดบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงที่สำาคัญใน

                  เรื่องใด และส่งผลกระทบสำาคัญในเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างไร รวมถึงการแข่งขันทางการเมือง

                  ทั้งในส่วนที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น การรณรงค์หาเสียง กลยุทธ์ วิธีการ การนำาเสนอนโยบาย ตลอดจน
                  การแข่งขันในส่วนที่ปิดบังเช่น การซื้อเสียง การใช้อิทธิพลของหน่วยงาน การแทรกแซงด้วยวิธีการต่างๆ
                  เป็นต้น






                          2) กำรใช้เงินในกำรหำเสียงเลือกตั้ง


                          (1)   ศึกษาผลของการบังคับใช้มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งตามกฎหมายใหม่

                               โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบเจตนารมณ์ของกฎหมายกับผลที่เกิดขึ้นจริงในระดับพื้นที่ ผ่าน
                               การศึกษาบทบาทและวิธีการปฏิบัติงานของผู้จัดการเลือกตั้งว่ามีวิธีควบคุมตรวจสอบ

                               ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมือง/นักการเมืองในพื้นที่อย่างไร ได้ผลหรือไม่ และ
                               พฤติกรรมของผู้สมัคร/พรรคการเมืองว่ามีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่

                               มีความพยายามที่จะหลบเลี่ยงกฎหมายหรือไม่ อย่างไร

                          (2)   ศึกษาอิทธิพลของการใช้จ่ายเงินของผู้สมัครและพรรคการเมืองมีต่อประชาชน และผล
                               ของการเลือกตั้ง ทั้งการใช้จ่ายเงินที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย โดยให้ความสำาคัญกับ

                               การสำารวจในพื้นที่ว่ายังมีการซื้อสิทธิขายเสียงอยู่หรือไม่ มีรูปแบบหรือกระบวนการอย่างไร
                               ในการซื้อเสียง หรือหากมีการให้เป็นผลประโยชน์อื่นนอกจากตัวเงิน ผลประโยชน์ดังกล่าว

                               คืออะไร เป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในรูปแบบใด และการซื้อเสียงไม่ว่าจะในรูปแบบใด
                               ยังมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร


                          (3)   สังเกต และชี้วัดความรู้สึก ถึงทัศนคติและการให้เหตุผลของบุคคลทั่วไปในการรับรู้เกี่ยวกับ
                               การซื้อเสียง แลกผลประโยชน์ และสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ในพื้นที่ โดยพิจารณาว่าประชาชน

                               ทั่วไปสามารถยอมรับกับพฤติกรรมดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด และประชาชนทั่วไป
                               มีการตอบสนองต่อพฤติกรรมดังกล่าวอย่างไรบ้าง
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37