Page 27 - kpiebook63031
P. 27
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
26 จังหวัดอุบลราชธานี
นอกจากนี้ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ได้มีการเสริมบทบาทของข้าราชการ โดยมีการโยกย้ายสับเปลี่ยน
ข้าราชการหลายคนให้เข้าไปทำางานด้านยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนการสนับสนุนบทบาทที่เด่นชัดมากขึ้น
ให้กับสำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น
แม้จะมีการจำากัดการแสดงออกทางการเมือง แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมากลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
หลายกลุ่ม ประสบความสำาเร็จในการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมืองให้กับตนเอง โดยพัฒนาไปเป็น
พรรคการเมือง เช่น กลุ่ม กปปส. ที่กลายไปเป็นพรรครวมพลังประชาชาติไทย กลุ่มของนายไพบูลย์ นิติตะวัน
ที่ได้พัฒนาไปเป็นพรรคประชาชนปฏิรูป และกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ 4 รัฐมนตรี ได้แก่
พรรคพลังประชารัฐ ตลอดจนมีกลุ่มนักกิจกรรมสังคมที่มีความสนใจที่จะตั้งพรรคการเมือง เช่น
พรรคอนาคตใหม่ ที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ ดร. ปิยบุตร แสงกนกกุล เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรค และ
การประกาศเปลี่ยนอุดมการณ์เพื่อย้ายพรรคการเมืองของนักการเมืองหลายคน เช่น นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
นายนคร มาฉิม นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
นอกจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองแล้ว ในส่วนของรัฐบาลเอง ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีก 3 ฉบับ ได้แก่
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
จากโครงสร้างดังกล่าวนี้ ได้ส่งผลให้การเลือกตั้งที่กำาลังจะเกิดขึ้นแตกต่างจากการเลือกตั้งที่
ผ่านมาตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2544 โดยสิ้นเชิง เช่น การเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว โดยใช้การนับคะแนนแบบ
จัดสรรปันส่วนผสม ยังมีมาตรการใหม่ที่กำาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งขั้นต้น (แม้ภายหลังจะมี
มาตรา 44 ออกมาสร้างความยืดหยุ่นให้กับมาตรการดังกล่าว) เงื่อนไขใหม่เกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมือง
หน้าที่และสถานภาพของสมาชิกพรรคการเมือง และคณะกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งการกำาหนดโทษของ
พรรคการเมืองไว้สูงมาก การกำาหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองและวิธีการหาเสียง
เลือกตั้งของพรรคการเมืองในมาตรา 62-83 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมกับการประกาศยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ
แผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกติกา หรือบทบัญญัติใหม่ที่เกิดขึ้น ที่จะส่งผลต่อ
โครงสร้างทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเมืองไทยอีกหลายสถาบัน ซึ่งยังไม่นับถึง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ ที่ให้บทบาทหน้าที่กับองค์กรอื่นๆ มากขึ้น ซึ่งจะมี
ผลต่ออำานาจและบทบาทของผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง
ด้วยการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางอำานาจ และโครงสร้างของสถาบันการเมืองในช่วงระยะเวลา
8 ปี ที่ผ่านมา จึงเป็นที่จับตามองว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้ จะสามารถบรรเทาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมา
เป็นระยะเวลากว่าทศวรรษได้หรือไม่ และจะทำาให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ
ได้หรือไม่ จะทำาให้การปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้นจริงหรือไม่ พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนจะมี