Page 28 - kpiebook63031
P. 28
27
การเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ประชาชนมีการเรียนรู้ทางการเมืองมากขึ้นหรือไม่ และภายใต้กรอบกติกาใหม่นี้
ผลของการเลือกตั้งยังจะยืนยันความตั้งมั่นของระบบพรรคการเมือง หรือความเข้มแข็งของพรรคการเมือง
บางพรรคที่เคยก่อร่างสร้างตัวมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้หรือไม่
การจับตาของประเด็นทั้งหลายที่กล่าวมานั้น จึงควรจะได้รับการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับ
การเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับพื้นที่ เพื่อการทำาความเข้าใจพฤติกรรมการเมือง กติกาใหม่ทางการเมือง
ซึ่งมีความสำาคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะนำาไปสู่การพัฒนาการเมืองการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยต่อไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จังหวัดอุบลราชธานี
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อเหตุการณ์ทางการเมืองสูง มีเหตุการณ์ต่อสู้เคลื่อนไหวทางการเมือง
มาอย่างยาวนาน อาทิ กรณีการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดง การแข่งขันของพรรคการเมืองกลุ่มต่างๆ
อย่างดุเดือดสูสีโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคพลังประชารัฐ
ยิ่งกว่านั้น การเมืองท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี โดยเฉพาะกลุ่มการเมืองท้องถิ่นระดับ
เทศบาลนครอุบลราชธานี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า มีการแข่งขันกันอย่าง
เข้มข้นมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นกรณีศึกษาที่สำาคัญแห่งหนึ่งของการทำาความเข้าใจการเมืองท้องถิ่น
ในประเทศไทย โดยเฉพาะปัญหาผู้มีอิทธิพลในการเมืองท้องถิ่น ปัญหาความรุนแรงในการแข่งขันต่อสู้
ทางการเมืองที่รุนแรง เป็นต้น ขณะที่ภาคประชาสังคมได้มีการจัดตั้งกลุ่มและองค์กรต่างๆ ในจังหวัด
มากมาย เช่น กลุ่มสมัชชาคนจน กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี หรือกลุ่มเครือ
ข่ายเกษตรกรต่างๆ จำานวนมาก นอกจากนี้ ในด้านการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบันมักจะมีกลุ่มประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเข้าร่วมและมีบทบาทสำาคัญมาโดยตลอด
จากการเป็นจังหวัดที่มีความอ่อนไหวต่อเหตุการณ์ทางการเมือง มีเหตุการณ์ต่อสู้เคลื่อนไหว
ทางการเมืองมาอย่างยาวนาน มีการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมือง การแข่งขันของพรรคการเมืองกลุ่มต่างๆ
อย่างดุเดือดสูสี ทั้งการเมืองในระดับชาติและในระดับท้องถิ่น ภาคประชาสังคมได้มีการจัดตั้งกลุ่มและ
องค์กรต่างๆ ในจังหวัดมากมาย จึงกลายเป็นกรณีศึกษาที่สำาคัญในการศึกษารูปแบบ วิธีการ และผลกระทบ
การเลือกตั้ง ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ในปี พ.ศ. 2562 เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์
การเมืองในระดับภูมิภาค และเปรียบเทียบกับกรณีพื้นที่อื่นๆ โดยมีคำาถามในการศึกษาว่า การเลือกตั้ง
ที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดอุบลราชธานีเกิดการเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง
อย่างไร ปัจจัยใดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี พฤติกรรม
การใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็นมูลค่าของการใช้จ่ายในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดอุบลราชธานี พฤติกรรมของผู้สมัคร/พรรคการเมือง
ว่ามีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามกฎหมายหรือไม่ และผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่
พ.ศ. 2560 ใน จ.อุบลราชธานี ว่ามีลักษณะอย่างไร