Page 33 - kpiebook63031
P. 33
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
32 จังหวัดอุบลราชธานี
3) กำรตั้งมั่นของควำมเป็นพรรคกำรเมือง
(1) โดยศึกษาการแข่งขันทางการเมือง โครงสร้างของตระกูลการเมือง หรือเครือข่ายทางการเมือง
ในเขตพื้นที่จังหวัด ว่ามีการเปลี่ยนแปลงสังกัดพรรคการเมืองจากการเลือกตั้ง 3 ครั้ง
ที่ผ่านมาหรือไม่ และหากมีการเปลี่ยนแปลง อะไรคือปัจจัยที่ทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
แต่ถ้าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลง อะไรคือสาเหตุที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือเครือข่าย
การเมืองเดิมยังคงอยู่ในพรรคการเมืองเดิม
(2) การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือเครือข่ายทางการเมือง
มีผลต่อรูปแบบการแพ้ชนะ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร หากไม่มี อะไรคือปัจจัย
ที่ทำาให้ผลของการเลือกตั้งออกมาในรูปแบบนั้น
(3) การเลือกตั้งระบบใหม่ที่เป็นแบบบัตรใบเดียวที่บีบคั้นให้คนต้องเลือกคนหรือเลือก
พรรคการเมือง มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งใช้ปัจจัยอะไรมากำาหนดให้ตนเลือกพรรค หรือเลือกผู้สมัคร
รับเลือกตั้งคนไหน อย่างไร
(4) การที่แต่ละพรรคต้องดำาเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์ชาติ มีผลทำาให้นโยบายของแต่ละ
พรรคในเขตพื้นที่มีความแตกต่างกันหรือไม่ ในส่วนของนโยบายพรรคที่แตกต่างกัน
มีอิทธิพลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ของผู้ลงคะแนนเสียงหรือไม่ หากเปรียบเทียบ
กับปัจจัยด้านตัวบุคคลของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง นโยบายพรรคหรือตัวบุคคลมีอิทธิพลต่อ
การตัดสินใจของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่ากัน
(5) สภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำาให้
ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีความนิยม หรือมีความผูกพันกับพรรคการเมืองต่างไปจากการ
เลือกตั้งครั้งที่แล้วหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อคำาถามว่า 8 ปีที่ไร้การเลือกตั้งนั้น ความเป็นพรรคการเมือง
หรือความนิยมในพรรคการเมือง ยังสามารถฝังรากลึกในสังคมไทยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด