Page 43 - kpiebook63031
P. 43
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
42 จังหวัดอุบลราชธานี
ที่จะมีอำานาจเหนือพวกพ้อง บางคนอาจจะไม่มีชื่อเสียงใดเลย แต่มีอำานาจต่างๆ อยู่ในมือ วิธีการแบบนี้
แสดงให้เห็นถึงผลของความต้องการมีสถานภาพในวิธีที่ต่างกันออกไป
ฐานะหรือตำาแหน่ง เป็นจุดมุ่งหมายทุติยภูมิที่มีเพื่อตอบสนองแรงจูงใจขั้นมูลฐาน คนที่มี
สถานภาพอย่างหนึ่งสามารถจะคาดหวังได้ว่าจะทำาเงินได้ขนาดหนึ่ง มีชีวิตได้แบบหนึ่ง และได้รับ
การปฏิบัติจากบุคคลอื่นอย่างหนึ่ง ดังนั้น สถานภาพสามารถประกันให้เราได้ไม่มากก็น้อยว่าบุคคลอาจ
ตอบสนองความต้องการอื่นๆ ได้ขนาดหนึ่ง และนอกจากนี้ มันยังช่วยให้คนไม่ต้องกลัวว่าเขาจะต้อง
สูญเสียความพอใจบางอย่างที่ไปด้วยกันกับสถานภาพ
ดังนั้น หากจะกล่าวถึงอำานาจของมนุษย์ ซึ่งจะแสดงออกโดยพฤติกรรมนั้น จะต้องมีแรงจูงใจ
ที่เป็นพื้นฐานเพื่อสนองตอบความต้องการ (need) ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจจากภายนอกหรือ
ภายในของแต่ละบุคคล เพื่อตอบสนองความต้องการอำานาจ ไม่ว่าเพื่อจะเป็นเจ้าของทรัพยากร เพื่อรักษา
ผลประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อการแสวงหาเกียรติยศ ชื่อเสียง การสืบทอดทายาททางการเมือง ก็ถือ
เป็นอีกสาเหตุหนึ่งในแรงจูงใจ ที่ต้องการอำานาจในการสานต่อ ขยาย และปกป้องรักษาผลประโยชน์ของ
ตน ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อให้มีส่วนในกิจกรรมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของรัฐบาล
การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะมีความสนใจในการเมือง จนกระทั่งตัดสินใจเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วย
การลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การเรียนรู้ทางการเมืองจากครอบครัว ถือเป็น
ส่วนสำาคัญประการหนึ่ง (ธวัชชัย กฤติยาภิชาตกุล, 2541, น. 24)
3. แนวคิดระบบอุปถัมภ์
แนวคิดเรื่องระบบอุปถัมภ์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้นำามาใช้เพื่ออธิบายโครงสร้างสังคมไทย
นำาโดย ลูเซียน เอ็ม แฮงส์ (Lucian M. Hanks) ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ ร่วมด้วยนักวิชาการโดยเฉพาะจาก
สำานักคอร์แนลล์ เช่น เดวิด วิลสัน (David Wilson) และนักวิชาการท่านอื่นๆ มองจากแง่มุมหนึ่ง แนวคิดนี้
ได้ชี้ให้เห็นความจริงข้อหนึ่งว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการกำาหนดสถานภาพของบุคคลลดหลั่นจากบน
มาสู่ล่าง นั่นคือ สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างที่เน้นความแตกต่างระหว่างฐานะตำาแหน่ง ซึ่งได้แก่
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์ที่มีฐานะตำาแหน่งสูงกว่าและผู้รับอุปถัมภ์ที่มีฐานะตำ่ากว่า แฮงค์มองว่า
โครงสร้างสังคมไทยประกอบด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือเป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่งโดย
ตลอดทั้งสังคม อย่างไรก็ตาม แนวคิดของแฮงส์ได้รับการโต้แย้งว่า แนวคิดระบบอุปถัมภ์เป็นแนวคิดที่
เหมาะสำาหรับการวิเคราะห์สังคมในระดับจุลภาค แต่ไม่สามารถอธิบายสังคมไทยได้ทั้งหมด กระแสต้าน
ได้ออกมาในรูปของการเสนอแนวคิดในเรื่องของการจัดชั้นทางสังคม (social class) ซึ่งถือว่าสามารถ
อธิบายโครงสร้างสังคมได้ดีกว่า นักวิชาการกลุ่มนี้ ได้แก่ ฮันส์ ดีเตอร์ เอเวอส์ (Hans-Dieter Evers)
แอนดรู เตอร์ดัน(Andrew Turton) รวมไปถึงนักวิชาการกลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมืองด้วย