Page 48 - kpiebook63031
P. 48
47
แผนภำพที่ 2 เปรียบเทียบลักษณะสำยสัมพันธ์ระบบอุปถัมภ์
Patron-client cluster Patron-client pyramid
แม้ว่าสายสัมพันธ์ในแนวตั้งจะเป็นหัวใจของระบบอุปถัมภ์ แต่เรายังต้องการวิเคราะห์สายสัมพันธ์คู่
ตามแนวราบเป็นบางครั้ง เช่น ระหว่างผู้อุปถัมภ์ 2 คน ที่มีฐานะใกล้เคียงกันที่ร่วมกันเป็นพันธมิตร
ลักษณะของพันธมิตรดังกล่าวจะเป็นฐานที่ทำาให้เกิดกลุ่มแตกแยก(factions) ในการเมืองระดับท้องถิ่นได้
ท้ายที่สุดเครือข่ายของผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์(patron-client networks) จะไม่ได้มีศูนย์รวมที่บุคคลใด
บุคคลหนึ่ง (ego-focused) แต่หมายถึง รูปแบบทั้งหมดของสายสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับผู้รับอุปถัมภ์
(รวมพันธมิตรของผู้อุปถัมภ์ตามแนวนอนด้วย) ซึ่งเชื่อมผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันในอาณาเขตหรือ
ชุมชนหนึ่งๆ
กลุ่มผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ (cluster) เป็นวิธีการหนึ่งในหลายๆ ทางที่ประชาชนที่ไม่ได้เป็น
ญาติสนิทกันมาร่วมมือกัน รูปแบบของการร่วมมืออื่นๆ ส่วนมากจะเกี่ยวพันกับการจัดระเบียบองค์การ
ที่มีการจัดประเภทของสายสัมพันธ์ (categorical ties) ทั้งที่เป็นรูปแบบที่เป็นประเพณี เช่น เชื้อชาติ ศาสนา
หรือวรรณะ และที่เป็นแบบสมัยใหม่ เช่น อาชีพหรือชั้นทางสังคม ซึ่งทำาให้เกิดกลุ่มต่างๆ ที่มีความแตกต่าง
ด้านพื้นฐานทางโครงสร้างและพลวัต
ลักษณะแตกต่างที่สำาคัญอื่นๆ ระหว่างกลุ่มประเภทอื่นกับกลุ่มผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์
จะเป็นไปตามหลักของการจัดตั้งกลุ่มโดยเฉพาะ ดังที่ปรากฏในงานของ คาร์ล แลนเด (Carl Lande) ดังนี้
(เจมส์ ซี สกอตต์, 2545, น. 59-60)
1. เป้าหมายของสมาชิก ผู้รับอุปถัมภ์มีเป้าหมายเฉพาะที่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัวที่มี
ต่อหัวหน้า ในขณะที่กลุ่มแยกประเภทมีเป้าหมายร่วมกันที่เกิดขึ้นจากการมีลักษณะร่วมกัน
บางประเภทที่ช่วยแยกให้แตกต่างไปจากสมาชิกของกลุ่มอื่น