Page 52 - kpiebook63031
P. 52

51








                          เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อธิบายว่า ความหมายของเจ้าพ่อที่สำาคัญที่สุดที่ทำาให้เจ้าพ่อดำารงอยู่ได้

                  ในสังคมไทยคือความหมายประการแรก ซึ่งก็คืออำานาจบารมีที่มีเหนือคนจำานวนมากจนสามารถปะทะ
                  สังสรรค์กับอำานาจรัฐได้ ภาวการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นได้ภายใต้รัฐที่อ่อนแอ (weak state) ที่ทำาให้อำานาจของ

                  ผู้มีอิทธิพล (strong men) ที่อยู่ในภาคสังคมเด่นชัดและเทียบเคียงได้กับอำานาจรัฐ


                          รัฐอ่อนแอ ไม่ได้แปลว่าอำานาจรัฐไม่รวมศูนย์ หรืออุดมการณ์การรัฐไม่เข้มแข็ง (เพราะเวียงรัฐ
                  เชื่อว่า รัฐไทยทั้งรวมศูนย์และเข้มแข็งทางอุดมการณ์อย่างยิ่ง) แต่หมายถึงกลไกรัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพ

                  ข้าราชการต้องฉ้อราษฎร์บังหลวง (เพราะเงินไม่พอใช้ หรือเพราะมีช่องทางก็ตาม) รวมถึงการบริหารงาน
                  ที่ไม่เป็นระบบ เปิดโอกาสให้ผู้มีอิทธิพลนอกภาครัฐเข้ามาแทรกแซงได้ (เช่นการตำารวจ กระบวนการ

                  ยุติธรรม) ในแง่นี้รัฐไทยจึงเป็นรัฐที่อ่อนแออย่างยิ่ง ซึ่งเป็นภาวะที่ต่อเนื่องนับจากการสร้างรัฐสมัยใหม่ใน
                  สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา เช่น นายอำาเภอในยุคแรกๆ เมื่อถูกส่งไปเป็นผู้ปฏิบัติงานแทนรัฐเพื่อควบคุม

                  ท้องถิ่นที่ห่างไกลจากศูนย์กลาง แต่เมื่อไปถึงท้องถิ่นนั้น ก็ต้องเข้าหานักเลงประจำาถิ่นเพื่อหาข้อมูลหรือ
                  เพื่อประนีประนอมกับนักเลง ไม่เช่นนั้นก็ทำางานไม่ได้


                          ถ้าเราจะมองต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เราคงเห็นพ้องต้องกันว่า อย่าว่าแต่นายอำาเภอสมัยโน้นเลย

                  ท่านผู้ว่าฯ สมัยนี้ก็ทำางานลำาบากหากไปถิ่นไหนที่เจ้าพ่อเข้มแข็งแล้วไม่อาจประนีประนอมกับเจ้าพ่อได้
                  ดังนั้น สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงนับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือสายสัมพันธ์ที่พิงกันอย่างแน่นแฟ้น
                  ระหว่างผู้อยู่ในอำานาจรัฐกับเจ้าพ่อ


                          อีกมิติหนึ่งของความอ่อนแอของรัฐไทยที่สำาคัญยิ่งไม่ใช่เรื่องประสิทธิภาพแต่เป็นเรื่องของ

                  การให้บริการแก่ประชาชน เวียงรัฐ ยกตัวอย่าง “นับตั้งแต่เสือฝ้ำยตั้งตัวเป็นผู้พิพำกษำไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง
                  จวบจนถึงวันที่ท่ำนก�ำนันผู้ยิ่งใหญ่เปิดบ้ำนของตัวเป็นศูนย์บริกำรแบบ One Stop Service คือ มีตั้งแต่

                  ฝำกลูกเข้ำโรงเรียน ขอยืมเงิน รับรำยงำนเรื่องนักเลงหัวไม้ ขอให้ไปซ่อมถนน ขอให้บริจำคสร้ำงวัด
                  เรื่อยไปจนผู้หลักผู้ใหญ่มำขอให้สนับสนุนกำรเลือกตั้ง นั่นคือ กำรที่เจ้ำพ่อผู้ให้บริกำรประชำชน คือ ผู้ที่เอำ

                  ผลประโยชน์จำกเส้นสำยของตัวเองมำแจกจ่ำยให้ชำวบ้ำน (ซึ่งอำจจะบวกลบกับผลประโยชน์ส่วนตัวแล้ว
                  ก็ตำม)” สิ่งเหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ขาดตอน


                          เวียงรัฐ เชื่อว่า เจ้าพ่อดำารงอยู่ในสังคมไทยได้อย่างสำาคัญเพราะมีหน้าที่(function) ที่ชัดเจน

                  นั่นคือเป็นตัวกลางระหว่างรัฐที่อ่อนแอกับชาวบ้านที่ไม่มีช่องทางอื่นที่จะเข้าถึงทรัพยากรในสังคมได้
                  แต่สิ่งที่แตกต่างอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยกับระบอบที่ผ่านมาคือ ชาวบ้านมีความสำาคัญขึ้นมา

                  ในฐานะเป็นฐานเสียงในการเลือกตั้ง ท่ามกลางการแข่งขันทางอำานาจของกลุ่มต่างๆ เจ้าพ่อก็ยิ่งมี
                  ความหมายมากยิ่งขึ้น เพราะคือผู้เชื่อมต่อกับชาวบ้านในฐานะฐานเสียงอันเป็นตัวชี้ขาด การขึ้นมามีอำานาจ

                  ในระบอบประชาธิปไตยได้ก็ต้องยึดกุมอำานาจเช่นที่เจ้าพ่อเคยมีมานี้ ให้มาเป็นของตนให้ได้
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57