Page 56 - kpiebook63031
P. 56

55








                  การลงพื้นที่หาเสียงอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ชนะคู่แข่งอย่างเด็ดขาดในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง ในขณะที่

                  คู่แข่งขันเองก็ไม่มีศักยภาพมากพอที่จะต่อสู้กับกลุ่มอำานาจเดิมได้ ความรุนแรงในการแข่งขันทางการเมือง
                  ในเขตเทศบาลเมืองเหล่านี้จึงไม่ค่อยปรากฏมากนัก การแข่งขันทางการเมืองในการหาเสียงเลือกตั้งแต่ละครั้ง

                  มีปัจจัยเรื่องเงินซื้อเสียงเข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินการแพ้ชนะ โดยมีปัจจัยเรื่องการลงพื้นที่อย่าง
                  ต่อเนื่อง คุณงามความดีและโครงการ นโยบายต่างๆ ในช่วงที่เคยดำารงตำาแหน่งเป็นปัจจัยรองลงมา


                          บทบาทของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นในการผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

                  ยังมีน้อย โดยฝ่ายผู้บริหารเทศบาลได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมพอสมควร เช่น การจัดทำา
                  ประชาคมแผนพัฒนาเทศบาล การจัดเวทีสาธารณะประจำาทุกเดือน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วประชาชนที่เข้ามา

                  ร่วมคือ กลุ่มหัวหน้าชุมชน แกนนำาชุมชนเท่านั้น ในขณะที่ฝ่ายประชาชนเองก็มีวัฒนธรรมแบบเฉื่อยชา
                  ทางการเมือง


                          ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ประชาชนโดยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับตำ่า โดย
                  ประชาชนส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมมากเฉพาะช่วงที่มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี หรือสมาชิกสภาเทศบาล

                  เท่านั้น ส่วนการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านอื่นๆ ของเทศบาล อาทิ การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

                  การติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำาเนินงาน พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมน้อย

                          เวียงรัฐ เนติโพธิ์ (2551) ศึกษาเรื่อง “ประชาธิปไตยตัวแทนและประชาธิปไตยภาคประชาสังคมใน

                  ระดับท้องถิ่น” เพื่อศึกษาความเป็นตัวแทนตามระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วม
                  ทางการเมืองของประชาชนเป็นประเด็นสำาคัญในปัญหาการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยซึ่งใน

                  บริบทของการกระจายอำานาจนี้ประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นจะเป็นตัวกำาหนดทิศทางการพัฒนาประชาธิปไตย
                  ของไทยนับจากนี้ไป การพิจารณาประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสำาคัญ


                          งานวิจัยนี้ ประเมินความเป็นประชาธิปไตยในท้องถิ่นโดยมีจุดเน้นที่องค์กรปกครองท้องถิ่นในฐานะ

                  ที่เห็นสถาบันตัวแทนตามระบอบประชาธิปไตย โดยด้านหนึ่งศึกษาว่า ในท้องถิ่นนั้นๆ มีกระบวนการและ
                  โครงสร้างเชิงสถาบันมีลักษณะอย่างไรในการเข้ามาเป็นตัวแทนในองค์กรปกครองท้องถิ่น และอีกด้านหนึ่ง

                  ศึกษาว่า ประชาชนมีกระบวนการและโครงสร้างเชิงสถาบันอย่างไรในการมีส่วนร่วมทางการเมืองต่อองค์กร
                  ปกครองท้องถิ่น ในการศึกษานี้ เวียงรัฐ เนติโพธิ์ ได้ใช้กรณีศึกษาที่เป็นพื้นที่ในเขตปกครองทั้งของระดับ

                  องค์การบริหารส่วนตำาบลและระดับเทศบาล รวม 18 กรณีศึกษา กระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยแต่ละพื้นที่มีความหลากหลายแตกต่างกันไป


                          จากการสำารวจพบว่า ในแง่ของความเป็นประชาธิปไตยเชิงสถาบันนั้น โดยภาพรวมถือว่าทิศทาง

                  สอดคล้องกับการพัฒนาประชาธิปไตย เพราะในด้านประชาธิปไตยตัวแทนมีกลุ่มการเมืองที่ชัดเจนและ
                  มีการเชื่อมโยงกับพรรคการเมืองที่ชัดเจน ด้านกระบวนการในการเข้าสู่การเลือกตั้งในแง่การใช้สิทธิของ

                  ประชาชน และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งถือว่าอยู่ในระดับสูง ส่วนประชาธิปไตยแบบ
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61