Page 55 - kpiebook63031
P. 55

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           54       จังหวัดอุบลราชธานี







                      2. ความสัมพันธ์ของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นกับพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองระดับชาติ พบว่า

             มี 2 ลักษณะ คือ กลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มการเมืองระดับชาติในระดับสูง ได้แก่
             กลุ่มการเมืองท้องถิ่นเทศบาลนครอุบลราชธานี และกลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ

             การเมืองระดับชาติน้อยได้แก่ กลุ่มการเมืองท้องถิ่นเทศบาลเมืองศรีสะเกษ เทศบาลเมืองอำานาจเจริญ
             และเทศบาลเมืองยโสธร สิ่งที่เอื้อให้เกิดการเข้ามาแทรกแซงทางการเมืองในเทศบาลนครอุบลราชธานี

             ของกลุ่มการเมืองระดับชาติ คือ ปัจจัยด้านจำานวนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนคร รวมทั้งปัจจัยทางด้าน
             งบประมาณ ผลประโยชน์ ในการบริหารจัดการเทศบาล จึงสามารถดึงดูดกลุ่มการเมืองระดับชาติให้เข้ามา

             ให้การสนับสนุนช่วยเหลือหรือให้การอุปถัมภ์กลุ่มการเมืองท้องถิ่น ในขณะที่กลุ่มการเมืองท้องถิ่นเอง
             ก็พยายามสร้างเครือข่ายเป็นผู้รับการอุปถัมภ์กับกลุ่มการเมืองระดับชาติ


                      ส่วนกลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเมืองระดับชาติน้อย นอกจากเกิด

             จากปัจจัยเรื่องจำานวนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้ง และผลประโยชน์ต่างๆ ที่เทศบาลมีน้อยแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับ
             “การฮั้วทางการเมือง” หรือการสมยอมทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่มีอยู่ในจังหวัด ลักษณะ

             การฮั้วทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้ง่ายในเขตเทศบาลขนาดเล็ก มีจำานวนผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่มากนัก นอกจากนี้
             การที่กลุ่มการเมืองระดับชาติจะสามารถเข้ามามีอิทธิพลต่อกลุ่มการเมืองท้องถิ่นได้นั้นขึ้นอยู่กับอำานาจ

             บารมีและความเข้มแข็งของตัว ส.ส. หรือนักการเมืองระดับชาติในพื้นที่นั้นๆ ด้วย

                      3. การแข่งขันของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นกลุ่มต่างๆ ในการเมืองระดับเทศบาล สามารถแบ่งได้

             เป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรก คือ กลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ได้แก่ กลุ่มการเมือง

             ท้องถิ่นเทศบาลนครอุบลราชธานี ถือว่าเป็นการเมืองท้องถิ่นที่มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น มีลักษณะ
             การใช้อิทธิพล อำานาจบารมีนอกระบบ มีการใช้ความรุนแรงในการแข่งขันต่อสู้ที่เกิดขึ้นอย่างยาวนานตั้งแต่
             อดีตจนถึงปัจจุบัน การแข่งขันต่อสู้ได้เพิ่มรูปแบบการรวมอำานาจอิทธิพล อำานาจมืดกับการแข่งขันต่อสู้ผ่าน

             กลไกการต่อสู้ที่เป็นทางการการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เชิงระบบอุปถัมภ์กับกลุ่มการเมืองระดับชาติ

             และเครือข่ายอื่นมากขึ้น โดยกลุ่มการเมืองระดับชาติจะให้การสนับสนุนอำานาจเงินซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้น
             เรื่อยๆ ส่งผลให้การแข่งขันต่อสู้ของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นมีลักษณะเป็น “สงครามตัวแทน” กล่าวคือ
             มีกลุ่มอำานาจทางการเมืองในระดับชาติอยู่เบื้องหลังคอยให้การสนับสนุนเงินทุน และคนเพื่อช่วยใน

             การรณรงค์แข่งขัน ทั้งการหาเสียงเลือกตั้งและ การแจกเงินให้กับหัวคะแนนเพื่อนำาไปซื้อเสียงเลือกตั้ง

             เป็นต้น

                      4. ลักษณะที่สอง คือ กลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่มีการแข่งขันกันไม่รุนแรง ได้แก่ กลุ่มการเมือง

             ท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ เทศบาลเมืองอำานาจเจริญ และเทศบาลเมืองยโสธร ซึ่งกลุ่มต่างๆ
             เหล่านี้จะมีลักษณะเฉพาะร่วมกันที่เป็นปัจจัยที่ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงมากนัก เนื่องจากกลุ่มที่

             ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งโดยส่วนใหญ่มีการผูกขาดอำานาจมาหลายยุคหลายสมัย ซึ่งการผูกขาดอำานาจ
             ทางการเมืองต่อเนื่องยาวนานได้สร้างฐานเสียงของกลุ่มให้มีความเข้มแข็งผ่านโครงการ นโยบาย หรือ
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60