Page 57 - kpiebook63031
P. 57

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           56       จังหวัดอุบลราชธานี







             มีส่วนร่วมนั้น ก็พบว่ามีการจัดตั้งองค์กรของประชาชนเพื่อมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ เป็นองค์กร

             ที่มีสมาชิกที่แน่นอนและมีกิจกรรมที่ต่อเนื่อง กลุ่มองค์กรเหล่านี้เป็นผู้เข้าร่วมทางการเมืองต่อองค์การ
             ปกครองส่วนท้องถิ่นที่สำาคัญ


                      อย่างไรก็ดีในแง่กระบวนการนั้น มีความหลากหลายขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ที่เป็น

             ปัจจัยในการกำาหนดกระบวนการ ทั้งส่วนที่เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทนและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
             ปัจจัยที่เป็นตัวกำาหนดเหล่านั้นได้แก่ ความแตกต่างกันทางสถานทางสังคมและเศรษฐกิจ ความแตกต่างทาง

             ด้านชาติพันธุ์และวัฒนธรรม รวมทั้งการตั้งถิ่นฐานของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่มีความหลากหลาย
             ทางสังคมและเศรษฐกิจน้อย มีการตั้งถิ่นฐานที่ไปมาหาสู่กันได้สะดวกจะเป็นพื้นที่ที่ประชาชนเข้าร่วม

             ทางการเมืองในท้องถิ่นสูงและสามารถกำาหนดให้องค์กรปกครองท้องถิ่นตอบสนองความต้องการของ
             ประชาชนได้มาก อย่างไรก็ดีกระบวนการการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นเป็นกระบวนการที่อิงอยู่กับ

             สายสัมพันธ์เครือญาติ การนับถือและไว้วางใจกันมากกว่าการร่วมกันทางอุดมการณ์ ส่วนพื้นที่ที่แยกกันไกล
             และมีความแตกต่างกันทางชาติพันธุ์สูง จะเป็นพื้นที่ที่นโยบายถูกส่งต่อจากบนลงล่างง่ายกว่าและประชาชน

             ไม่ได้เป็นผู้ผลักดันหลักในการเข้าร่วมทางการเมือง


                      ดังนั้น การศึกษาความเป็นประชาธิปไตยในท้องถิ่นของไทยในงานวิจัยนี้ พบว่า ในเชิงโครงสร้าง
             มีการจัดตั้งที่ชัดเจนและมีทิศทางสอดคล้องกับการพัฒนาประชาธิปไตย ส่วนทางด้านกระบวนการนั้น
             มีความหลากหลายและขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในท้องถิ่น


                      ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์ (2536) ศึกษา เรื่อง “ผู้นำาท้องถิ่นอีสานกับเครือข่ายความสัมพันธ์ :

             กรณีศึกษาสมาชิกสภาเทศบาล” การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ทำาให้ผู้นำาก้าวเข้าสู่ตำาแหน่งและมีบทบาท
             เป็นผู้นำาท้องถิ่น รวมทั้งต้องการทราบถึงลักษณะความสัมพันธ์ของผู้นำากับเครือข่าย โดยผู้วิจัยได้เลือก

             พื้นที่ศึกษาเฉพาะเขตเทศบาลเมืองเก่าซึ่งเป็นชุมชนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เน้นกรณีศึกษา
             สมาชิกสภาเทศบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยทั้งจากเอกสารและจากการศึกษาชุมชน โดยผู้วิจัย

             ได้เข้าไปศึกษาชุมชนด้วยตนเองและได้เข้าไปสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมี
             การสัมภาษณ์ผู้นำาอย่างละเอียด


                      จากการศึกษาพบว่า กลุ่มชนที่มีบทบาทกุมอำานาจทางการเมืองในระยะแรกของการตั้งเมือง

             คือ กลุ่มไทยอีสาน ครั้นหลังปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปิดโอกาสให้คนกลุ่มต่างๆ เข้ามามี
             บทบาททางการเมืองได้มากขึ้น ไม่จำากัดอยู่เฉพาะกลุ่มหรือตระกูล โดยอาศัย “ความรู้” เข้าสู่ระบบราชการ

             นอกจากนี้ โอกาสยังเปิดกว้างมากขึ้นสำาหรับบุคคลทั่วๆ ไป เนื่องจากนโยบายของรัฐที่เน้นการกระจาย
             อำานาจสู่ท้องถิ่นในรูปของเทศบาล มีผลให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองได้ ดังนั้น จึงปรากฏว่า

             ผู้นำาท้องถิ่นระยะแรกๆ คือ กลุ่มผู้นำาได้ผ่านการศึกษาแบบใหม่ที่มีเชื้อสายไทยอีสาน อย่างไรก็ตาม
             การเมืองท้องถิ่นเริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. 2518 – 2536 แกนนำาของกลุ่มที่กุมอำานาจ

             การปกครองท้องถิ่นกลายเป็นกลุ่มพ่อค้าชาวจีน อันเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62