Page 60 - kpiebook63031
P. 60

59








                          นพดล สุคนธวิท (2539) ศึกษาเรื่อง “พรรคการเมืองไทยกับการเมืองท้องถิ่น : ผลประโยชน์และ

                  ฐานอำานาจ” โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำาคัญระหว่างพรรคการเมืองไทยกับ
                  การเมืองท้องถิ่น ในลักษณะที่การเมืองท้องถิ่นได้กลายเป็นแหล่งผลประโยชน์และฐานอำานาจที่สำาคัญยิ่ง

                  ซึ่งพรรคการเมืองพยายามที่จะมีอิทธิพลเหนือการเมืองท้องถิ่นนั้นให้ได้ โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ ในระบบ
                  การเมืองที่เอื้อและเปิดทางให้พรรคการเมืองเข้ามามีอิทธิพลเหนือการเมืองท้องถิ่นได้


                          ผลการศึกษาของ นพดล สุคนธวิท พบว่า พรรคการเมืองไทยและการเมืองท้องถิ่นได้มีความสัมพันธ์

                  กันอย่างลึกซึ่งและแนบแน่น โดยผ่านตัวนักการเมืองผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคการเมืองเป็นหลัก
                  การเมืองท้องถิ่นถือเป็นแหล่งทรัพยากรทางการเมืองที่สำาคัญสำาหรับพรรคการเมืองที่จะต้องแสวงหาและ

                  ครอบครองเพื่อเข้าสู่อำานาจทางการเมือง อันนำามาซึ่งอิทธิพลและผลประโยชน์ ความสัมพันธ์ระหว่าง
                  พรรคการเมืองไทยกับการเมืองท้องถิ่นนั้น มีลักษณะการครอบงำาท้องถิ่นโดยพรรคการเมือง โดยอาศัย

                  ระบบราชการ กลไกการปกครองท้องถิ่น และการจัดตั้งตัวแทนของพรรคเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์กับ
                  ประชาชนภายในท้องถิ่น ในลักษณะที่สามารถชักจูงหรือชักนำาประชาชนได้ ทั้งนี้ โดยอาศัยกลไกในระบบ

                  อุปถัมภ์ของสังคมไทย


                          เชาวนะ ไตรมาศ (2537) ศึกษาเรื่อง “เจ้าพ่อกับการเมือง : การเชื่อมโยงของข่ายใยอำานาจใน
                  ระบบการเมืองไทย” งานวิจัย มุ่งศึกษาแบบแผนการแข่งขัน – ช่วงชิงอำานาจระหว่างกลุ่มการเมือง แบบแผน
                  การเชื่อมโยงอำานาจระหว่างกลุ่มการเมืองและภาวะการแตกตัว – ประสานตัว ระหว่างอำานาจรัฐ อำานาจ

                  การเมือง โดยเน้นบทบาทของกลุ่มอำานาจ ที่เรียกว่า “เจ้าพ่อ” เป็นกลุ่มหลัก


                          ผลการศึกษา พบว่า 1) เจ้าพ่อเป็นกลุ่มอิทธิพลที่มีบทบาทเด่นในฐานะผู้แสวงโอกาสในการเก็บเกี่ยว
                  ประโยชน์ทั้งจากอำานาจรัฐ อำานาจการเมืองและอำานาจเศรษฐกิจที่เกิดจากผลพวงของการเปลี่ยนผ่านระหว่าง

                  ระบอบการเมืองกระแสหลัก มากกว่าบทบาทในฐานะกลุ่มการเมืองที่มีอำานาจหลักในการแข่งขัน – ช่วงชิง
                  เพื่อให้ได้มา เข้าครอบครองหรือดำารงไว้ซึ่งอำานาจรัฐอำานาจการเมืองหรืออำานาจเศรษฐกิจในระบบและ

                  ระบอบการเมือง 2) เจ้าพ่อแสวงหาประโยชน์และอำานาจโดยเครือข่ายของวิถีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือที่
                  ร่วมแลก-รับกันระหว่างพันธมิตร 3 ภาค คือ ภาคการเมือง ภาคราชการ และภาคเศรษฐกิจ 3) เจ้าพ่อมีพลังขับ

                  จากแรงจูงใจที่มุ่งเก็บเกี่ยวผลพลอยได้จากระบบการเมืองซึ่งอยู่ในฐานะฝ่ายตั้งรับ (ผู้สนับสนุน ผู้แสวง
                  ประโยชน์ และผู้ใช้หรือบริโภค) และปรับตัวให้เข้ากับภาวะการแตกตัว ประสานตัวระหว่างอำานาจรัฐ อำานาจ

                  การเมือง มากกว่าบทบาทในฐานะนักการเมืองโดยตรง


                          งานศึกษาของ นิรันดร์ กุลฑานันท์ (2549) ศึกษา “นักการเมืองถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์” มีวัตถุประสงค์
                  1) เพื่อทำาความรู้จักนักการเมืองที่เคยได้รับการเลือกตั้งในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อทราบถึงเครือข่ายและ

                  ความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัด 3) เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์และ
                  กลุ่มที่ไม่เป็นทางการที่มีส่วนสนับสนุนทางการเมืองในจังหวัด 4) เพื่อทราบบทบาทและความสัมพันธ์ของ

                  พรรคการเมืองกับนักการเมืองในจังหวัด 5) เพื่อทราบวิธีการหาเสียงในการเลือกตั้งของนักการเมืองใน
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65