Page 63 - kpiebook63031
P. 63
การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
62 จังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อการเมืองระบบใหม่แบบ “เลือกตั้ง” เข้ามามีบทบาทในอีสาน กล่าวคือ “การเลือกตั้ง”
ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในระบบการเมืองสมัยใหม่ ส.ส.อีสาน พยายามกระตุ้นความเป็นท้อง
ถิ่นนิยมและภูมิภาคนิยม ด้วยการยำ้าถึงหน้าที่ของผู้แทนราษฎรว่า นอกจากมีหน้าที่ในการออกกฎหมาย
และในการปกครองบ้านเมืองแล้ว ยังมีหน้าที่จัดการระงับทุกข์และบำารุงสุขในพื้นที่อีกด้วย ซึ่งเท่ากับเป็น
การยำ้า “หน่ออ่อน” ในเรื่องท้องถิ่นนิยมในเชิงพื้นที่ให้ชัดเจนขึ้น ประกอบกับการที่รัฐได้กำาหนดเกณฑ์ของ
ผู้สมัครอย่างหนึ่ง ก็คือ กำาหนดให้เขตเลือกตั้งผูกติดกับภูมิลำาเนาของผู้สมัครหรือถิ่นที่อยู่ หรือเกิด หรือมี
อสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งกรอบดังกล่าวนี้ยิ่งทำาให้ความเป็นท้องถิ่นนิยมในเชิงพื้นที่ชัดเจนขึ้น
ภายใต้การดำาเนินการของผู้สมัคร ส.ส. ที่ได้นำา “ท้องถิ่นนิยม” และ “ภูมิภาคนิยม” มาใช้เพื่อ “แยกคนในท้องถิ่น”
กับ “คนนอกท้องถิ่น” เพื่อแยก “เขา” กับ “เรา” ออกจากกัน รวมทั้งระบบหัวคะแนนและฐานเสียงเป็น
ตัวอย่างหนึ่งของเรื่องท้องถิ่นที่ชัดเจนขึ้น และเนื่องจากเขตเลือกตั้งหรือพื้นที่ทางการเมืองของ ส.ส. เป็น
พื้นที่หรือเขตเลือกตั้งเดียวกับสมาชิกสภาเมืองและสภาจังหวัดที่ซ้อนทับกัน จึงทำาให้ ส.ส. ได้เริ่มเข้าไปมี
บทบาทในพื้นที่หรือท้องถิ่นทางการเมืองของตนด้วยการส่งเครือญาติลงสมัครรับเลือกตั้งการเมืองระดับ
ท้องถิ่น ประกอบกับกรอบในการเลือกสรรสมาชิกในระดับท้องถิ่น ได้ทำาให้นักการเมืองระดับชาติและ
ระดับท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกันนับตั้งแต่แรกเริ่มของการเมืองระดับท้องถิ่น นอกจากนี้
กฎเกณฑ์ใหม่ที่รัฐกำาหนดขึ้นเกี่ยวกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ซึ่งคล้ายกับเกณฑ์ของการเมืองระดับชาติ
มีส่วนทำาให้ท้องถิ่นมีความสำาคัญมากขึ้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การเมืองในระบบสมัยใหม่ที่มี
การเลือกตั้งทั้งในระดับชาติ “ส.ส.” และระดับท้องถิ่น “เทศบาล” มีส่วนสำาคัญในการยำ้า “หน่ออ่อน” ของ
ท้องถิ่นนิยมและภูมิภาคนิยมที่มีมาก่อน พ.ศ. 2476 ให้มีความชัดเจนขึ้น และความรู้สึกในเรื่องนี้ จะเห็นได้
ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อ ส.ส. อีสานได้เข้าไปมีบทบาทในสภาผู้แทนราษฎรนับตั้งแต่สมัยแรก
งานศึกษาของผู้เขียน ประเทือง ม่วงอ่อน (2556) ศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ 1) เพื่อทราบข้อมูลนักการเมืองจังหวัดศรีสะเกษที่ได้รับการเลือกตั้ง ตั้งแต่สมัยแรก
จนถึงปี พ.ศ. 2555 2) เพื่อทราบข้อมูลนักการเมืองจังหวัดศรีสะเกษที่มีบทบาทสำาคัญในการเมืองระดับชาติ
3) เพื่อทราบเครือข่ายและความสัมพันธ์ของนักการเมืองในจังหวัดศรีสะเกษทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น
และ 4) เพื่อทราบรูปแบบและวิธีการหาเสียงของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
กรอบแนวคิดในการศึกษา ประกอบด้วย แนวคิดที่ใช้อธิบายการเมืองอีสาน แนวคิดที่เกี่ยวข้อง
กับนักการเมืองถิ่น และ แนวคิดเรื่องระบบอุปถัมภ์ อาศัยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นเครื่องมือใน
การรวบรวมข้อมูล คือ ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง(document research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth
interview) และการสังเกตการณ์แบบคนใน (insider) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นความเชื่อ วัฒนธรรมทางสังคม
ค่านิยมหรืออุดมการณ์ที่ประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษยึดถือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำาแนกประเภทข้อมูล
การเปรียบเทียบข้อมูลและการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (induction) กำาหนดขอบเขตในการศึกษา ตั้งแต่
พ.ศ. 2476 จนถึง พ.ศ. 2554 โดยเน้นศึกษานักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือนักการเมืองในระดับชาติเป็นหลักสามารถสรุปผลการศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา