Page 68 - kpiebook63031
P. 68

67








                          ปัจจัยภายใน ปัจจัยของกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดศรีสะเกษที่เป็นอุปสรรคต่อ

                  ความเข้มแข็ง กล่าวคือ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา พบว่า กลุ่ม ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งมักเป็น
                  ส.ส.หน้าใหม่ แม้ว่า ส.ส.บางท่านอาจเคยได้รับการเลือกตั้งมา 2-3 สมัย หรือเคยลงสมัครรับเลือกตั้ง

                  มานานหลายสิบปีแล้ว แต่เมื่อวิเคราะห์ระยะเวลาในการดำารงตำาแหน่ง ส.ส. กลับพบว่าส่วนใหญ่มี
                  ประสบการณ์ไม่เกิน 10 ปี ถือว่ายังมีประสบการณ์ทางการเมืองน้อยเมื่อเทียบกับนายบุญชง วีสมหมาย

                  และนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์


                          สถานการณ์และโครงสร้างทางการเมืองที่ไม่เอื้อ ประกอบกับการเป็น ส.ส.หน้าใหม่ซึ่งยังขาด
                  ประสบการณ์ทางการเมืองที่มากพอ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเข้มแข็งทางการเมือง ดังนั้น

                  กลุ่มการเมืองระดับท้องถิ่นจึงใช้โอกาสนี้สอดแทรกขึ้นมาในเวทีการเมืองระดับชาติโดยใช้ฐานเสียงในระดับ
                  ท้องถิ่นช่วยสนับสนุน


                          ด้านที่สอง ความเข้มแข็งของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น เกิดจากปัจจัยสำาคัญ 2 ประการ คือ


                          ประการแรก เกิดจากการผูกขาดชัยชนะในการเลือกตั้งในเวทีการเมืองระดับท้องถิ่นของจังหวัด
                  ศรีสะเกษ แบ่งเป็น 2 ระดับคือ ระดับเทศบาลเมือง และองค์การบริหารส่วนจังหวัด


                          ระดับเทศบาลเมือง ผูกขาดชัยชนะโดยนายฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ หัวหน้ากลุ่มมิตรประชา

                  ที่ดำารงตำาแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองศรีสะเกษมานานกว่า 30 ปี การผูกขาดอำานาจทางการเมือง
                  มาหลายยุคสมัยได้สร้างฐานเสียงของกลุ่มให้มีความเข้มแข็ง ในขณะที่คู่แข่งขันไม่มีศักยภาพมากพอที่จะ

                  ต่อสู้กับกลุ่มอำานาจเดิมได้


                          องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยกลุ่มนายวิชิต ไตรสรณกุล ชนะการเลือกตั้งนายกองค์การบริหาร
                  ส่วนจังหวัดศรีสะเกษหลายสมัยเช่นเดียวกัน ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2551 สามารถเอาชนะ

                  นางสุนีย์ อินฉัตร อดีตสมาชิกวุฒิสภาได้ และล่าสุดการเลือกตั้งนายก อบจ.และสมาชิกสภา อบจ.ศรีสะเกษ
                  เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2555 ปรากฏว่านายวิชิตชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอย เพราะคู่แข่งขันทั้งหมด

                  ของนายวิชิต ล้วนเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ ยังไม่มีฐานเสียงและผู้สนับสนุนมากพอที่จะสามารถแข่งขันกับ
                  นายวิชิตได้อย่างสูสี


                          การผูกขาดชัยชนะที่ต่อเนื่องยาวนานของกลุ่มนายฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ และนายวิชิต

                  ไตรสรณกุล ส่งผลให้ทั้งสองกลุ่มมีอำานาจทางการเมืองที่เข้มแข็ง


                          ประการที่สอง เกิดจากความเป็นพันธมิตรทางการเมือง ระหว่างตระกูล “ไตรสรณกุล” และ
                  “อังคสกุลเกียรติ” โดยน้องชายของนายฉัฐมงคล คือ นายมานะพันธ์ เป็นรองนายกองค์การบริหาร

                  ส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73