Page 65 - kpiebook63031
P. 65

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           64       จังหวัดอุบลราชธานี







                      6.  การจัดตั้งหัวคะแนน (แกนจัดตั้ง) ในยุคปัจจุบัน ระบบ“หัวคะแนน” หรือเรียกชื่อใหม่ว่า

                          “แกนจัดตั้ง” ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบจากที่เคยอาศัยกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
                          เจ้าอาวาส ครู นักการภารโรง หรือผู้นำาชุมชนที่มีตำาแหน่ง เปลี่ยนมาเป็นบุคคลในหมู่บ้าน

                          ที่ไม่จำาเป็นต้องมีตำาแหน่ง เช่น อาจจะเป็นหัวหน้าคุ้มประจำาหมู่บ้าน ชาวบ้านธรรมดา หัวหน้า
                          ครอบครัวที่สามารถรวบรวมสมาชิกได้ครบตามจำานวน สมาชิกสภา อบต. สมาชิก อสม.

                          หัวหน้าเยาวชน กลุ่มเยาวชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง เป็นต้น


                                   กล่าวได้ว่า ระบบหัวคะแนนสมัยใหม่ไม่จำาเป็นต้องผ่านนายหน้าที่เป็นกำานัน
                          ผู้ใหญ่บ้านอีกต่อไป แม้ว่าในบางพื้นที่จะยังคงให้กำานัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวคะแนนอยู่

                          ทั้งนี้ นับตั้งแต่มีการกระจายอำานาจให้มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะในระดับ
                          องค์การบริหารส่วนตำาบล(อบต.) พบว่าในชุมชนระดับหมู่บ้านโดยส่วนใหญ่มักจะมีขั้วอำานาจ

                          ที่สำาคัญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มกำานัน ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มนายก อบต. และสมาชิก อบต.
                          ซึ่งทั้งสองกลุ่มมักคานอำานาจกัน โดยส่วนใหญ่ทั้งสองกลุ่มจะเป็นหัวคะแนนให้ผู้สมัคร ส.ส.

                          คนละพรรคกัน ยกเว้นว่าในบางพื้นที่ที่ทั้งสองกลุ่มเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือในการเลือกตั้ง
                          ครั้งนั้นมีผู้สมัครคนเดียวที่จัดตั้งระบบหัวคะแนน

                                   ระบบหัวคะแนนหรือระบบแกนนำาเหล่านี้จะคอยทำาหน้าที่รวบรวมรายชื่อสมาชิก

                          ในกลุ่มเพื่อจูงใจให้เลือก ส.ส.ที่ตนเป็นหัวคะแนนให้ การไปรับเงินจากแกนนำาระดับบน
                          เพื่อนำามาแจกให้กับประชาชนในหมู่บ้านที่ตนเองรับผิดชอบ รวมทั้งการเป็นผู้ประสานงาน

                          การจัดเวทีปราศรัย การประสานงานให้ผู้สมัคร ส.ส.ได้พบปะกับประชาชน เป็นต้น จำานวน
                          ของหัวคะแนน หรือแกนจัดตั้งในแต่ละหมู่บ้านถ้าเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กแกนนำาจะมีประมาณ

                          15 คน หมู่บ้านขนาดกลางประมาณ 20-25 คน หมู่บ้านขนาดใหญ่ประมาณ 25-40 คน
                          ส่วนแกนนำาระดับตำาบล ถ้าเป็นตำาบลขนาดใหญ่ที่มี 18 หมู่บ้านขึ้นไป จะแบ่งแกนนำา

                          ระดับตำาบลออกเป็น 3-4 กลุ่ม ถ้าเป็นตำาบลขนาดเล็กที่มี 10-11 หมู่บ้าน จะแบ่งแกนนำา
                          เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะมีแกนนำาประมาณ 3-5 คน แกนนำาระดับตำาบลจะทำาหน้าที่เป็น

                          ตัวเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน

                      7.  การปราศรัยหาเสียง นับตั้งแต่การเกิดปรากฎการณ์ทักษิณ ชินวัตรในจังหวัดศรีสะเกษขึ้นมา

                          นักการเมืองที่สังกัดกลุ่ม พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องออกปราศรัยหาเสียง เพื่อนำาเสนอนโยบาย
                          และผลงานของพรรค ซึ่งชาวบ้านเองก็เริ่มให้ความสำาคัญกับพรรคและนโยบายของพรรค
                          มากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปัจจัยชี้ขาดอย่างหนึ่งที่จะทำาให้ชนะหรือแพ้การเลือกตั้งในครั้งนั้นๆ

                          ส่วนวิธีลงพื้นปราศรัยตามหมู่บ้านหรือตำาบลต่างๆ นั้น จะเริ่มตั้งแต่เวลา 7.00 น. ถึงเวลา

                          23.00 น. ทำาติดต่อกันทุกวันไม่ได้พัก โดยจะเริ่มหาเสียงตั้งแต่วันลงรับสมัคร จนถึงก่อน
                          วันเลือกตั้ง
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70