Page 70 - kpiebook63031
P. 70
69
เงินทอง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวชนบทในจังหวัดศรีสะเกษ ลักษณะอุปนิสัยดังกล่าวส่งผลต่อ
พฤติกรรมทางการเมือง ดังนั้น นักการเมืองในจังหวัดศรีสะเกษที่จะได้รับการเลือกตั้งจะต้องเป็นบุคคลที่
ประชาชนรู้สึกว่าสามารถพึ่งพาอาศัยได้ สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในสังคม
ประการที่สี่ พัฒนาการของการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนจังหวัดศรีสะเกษเปลี่ยนแปลงไป
จากเดิมที่ผู้สมัครพยายามแจกเงินซื้อเสียงเป็นหลัก เปลี่ยนมาเป็นการแข่งขันกันลงพื้นที่ การหาพรรค
สังกัดที่ประชาชนถูกใจ การสร้างผลงานให้ได้รับการยอมรับ การจัดตั้งระบบหัวคะแนนที่เปลี่ยนแปลง
ทางกลยุทธ์ให้เข้ากับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่เงินซื้อเสียง
กลายเป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งเท่านั้นไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียวตามที่สังคมโดยทั่วไปเข้าใจ
ประการที่ห้า นับตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา การตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัด
ศรีสะเกษ มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากการยึดติดอยู่กับตัวบุคคลมาให้ความสำาคัญกับปัจจัยเรื่องพรรคที่
สังกัดมากขึ้น ผู้ที่เคยผูกขาดชัยชนะมาอย่างยาวนานอาจจะพ่ายแพ้หากสังกัดพรรคที่ประชาชนไม่สนับสนุน
ด้านกระแสความนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ประชาชน
จังหวัดศรีสะเกษส่วนใหญ่มีความนิยม พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร สูงมาก ส่งผลให้ผู้สมัคร ส.ส.ที่สังกัด
พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยมีโอกาสสูงที่จะได้รับการเลือกตั้ง ในขณะที่
ผู้สมัครพรรคการเมืองอื่นต้องต่อสู้แข่งขันอย่างหนักหากต้องการได้รับชัยชนะ โดยเฉพาะการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(แบบแบ่งเขต)เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พบว่า จากจำานวน ส.ส.ทั้งหมด
9 เขต พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง 8 เขต
ยิ่งการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ก่อนที่จะถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เป็นโมฆะ
พบว่า ผู้สมัคร ส.ส.จากพรรคไทยรักไทย ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครบทั้งจังหวัด 9 คน จากทั้งหมด 9 เขต
แม้กระทั่ง ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และมีการเลือกตั้งใหม่ตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ 2550 ที่กำาหนดให้มีการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ จากแบบเขตเดียวเบอร์เดียวเปลี่ยนมาเป็น
3 เขตเลือกตั้ง เขตหนึ่งมีจำานวน ส.ส.ได้ 3 คน ซึ่งสมาชิกพรรคไทยรักไทยเดิมได้ย้ายไปสังกัดพรรค
พลังประชาชน โดย กกต.กำาหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผลปรากฏว่า
พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 7 คน จากทั้งหมด 9 คน
โดยเฉพาะในกรณีของเขตเลือกตั้ง เขตที่ 2 พบว่ากระแสนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีอิทธิพล
ต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง ส.ส.เป็นอย่างมาก แม้ว่าผู้สมัครบางคนจะไม่เคยลงพื้นที่หาเสียงเหมือนผู้สมัคร
คนอื่นๆ หากสังกัดพรรคพลังประชาชนก็มีโอกาสสูงที่จะได้รับชัยชนะ อีกทั้งการหาเสียงของผู้สมัคร
ส.ส.พรรคพลังประชาชนยังเน้นการชู พ.ต.ท.ทักษิณ และการนำา พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศ