Page 67 - kpiebook63031
P. 67

การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
           66       จังหวัดอุบลราชธานี







                      ตระกูลวัชราภรณ์ เครือข่ายประกอบด้วย นายสง่า วัชราภรณ์ นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ และ

             นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์

                      ตระกูลวีสมหมาย เครือข่ายประกอบด้วย นายบุญชง วีสมหมาย ทันตแพทย์หญิงกรองกาญจน์
             วีสมหมาย และนายธีระชัย วีสมหมาย


                      ตระกูลเครือรัตน์ เครือข่ายประกอบด้วย นายไพโรจน์ เครือรัตน์ นายธเนศ เครือรัตน์ และ
             นายณรงค์สิทธิ์ เครือรัตน์

                      ตระกูลไตรสรณกุล เครือข่ายประกอบด้วย นายฮวด ไตรสรณกุล นายวีระ ไตรสรณกุล

             นายธีระ ไตรสรณกุล นายวิชิต ไตรสรณกุล นางสุณิสา ไตรสรณกุล นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ และ
             นายแพทย์จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์


                      ตระกูลอังคสกุลเกียรติ เครือข่ายประกอบด้วย นายฉัฐมงคล อังคสกุลเกียรติ นายสิริพงศ์
             อังคสกุลเกียรติ และนางสกุลทิพย์ อังคสกุลเกียรติ


                      ด้านความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับนักการเมืองระดับท้องถิ่น


                      ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา กลุ่มการเมืองท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษเริ่มขยายกลุ่มเครือข่าย
             เข้าไปแข่งขันในการเมืองระดับชาติมากขึ้น โดยส่งบุตรหลาน สามี ภรรยา ญาติพี่น้องหรือพรรคพวก

             ของกลุ่มลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา โดยเฉพาะตระกูล
             “อังคสกุลเกียรติ” และ “ไตรสรณกุล” ซึ่งกำาลังขยายตัวไปสู่การเมืองระดับชาติโดยอาศัยฐานเสียงเดิมใน

             เวทีการเมืองระดับท้องถิ่น


                      การเริ่มขยายเครือข่ายของกลุ่มการเมืองท้องถิ่นไปแข่งขันกับกลุ่มการเมืองระดับชาติของ
             กลุ่มตระกูลข้างต้น สะท้อนนัยยะทางการเมืองของจังหวัดศรีสะเกษที่สำาคัญ 2 ด้าน คือ ความอ่อนแอ

             ของกลุ่มการเมืองระดับชาติ และความเข้มแข็งของกลุ่มการเมืองท้องถิ่น


                      ด้านแรก ความอ่อนแอของกลุ่มการเมืองระดับชาติ ความอ่อนแอของกลุ่มการเมืองระดับชาติ
             แบ่งเป็น 2 กลุ่มสาเหตุ


                      ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สถานการณ์และโครงสร้างทางการเมืองที่ไม่เอื้อให้กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทน

             ราษฎรในจังหวัดศรีสะเกษมีความเข้มแข็ง เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมือง
             นับตั้งแต่การเกิดเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ผลกระทบจากการยุบพรรคไทยรักไทย

             พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย ส่งกระทบโดยตรงต่อ ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษซึ่งส่วนใหญ่เคยสังกัด
             พรรคการเมืองเหล่านี้ โดยเฉพาะส.ส.จังหวัดศรีสะเกษหลายคนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเพราะกระแส

             พรรคที่ตนเองสังกัด โดยเฉพาะกระแสพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน ดังนั้น หากเกิดปัญหาขึ้น
             กับพรรคการเมืองเหล่านี้ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางการเมืองของ ส.ส.คนนั้น
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72